Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2601-2650
  1. ชุ : (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
  2. ชุก : ว. มีดื่น, มีมากมาย, เช่น มะม่วงชุก, มีบ่อย ๆ เช่น ฝนชุก.
  3. ชุ่ง : (โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้าย โชยชาย. (ลอ).
  4. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  5. ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  6. ชุบชีวิต : ก. ทําให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทํา ให้มีชีวิตขึ้น เช่น ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บํารุงให้มีความ เป็นอยู่ดีขึ้น.
  7. ชุม : ก. มารวมกันจากที่ต่าง ๆ เช่น ชุมพล; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ขโมยชุม ยุงชุม.
  8. ชุ่ม : ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
  9. ชุมชน : น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน.
  10. ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ : ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.
  11. ชุ่ย ๒ : (วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้า ราวนม. (ขุนช้างขุนแผน).
  12. ชุลมุน : [ชุนละ] ว. อาการที่เป็นไปอย่างสับสนวุ่นวายไม่เป็น ระเบียบ เช่น เดินกันชุลมุน ชกต่อยกันชุลมุน.
  13. ชู : ก. ยกขึ้นสูงกว่าระดับเดิม เช่น ชูมือ, บํารุงให้ดีขึ้น เช่น ชูกําลัง.
  14. ชู้ : น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
  15. ชูชีพ : น. เครื่องช่วยพยุงตัวในนํ้าหรือในอากาศ เช่น พวงมาลัยชูชีพ ร่มชูชีพ.
  16. ชูรส : ว. ที่ทําให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น ผงชูรส.
  17. ชู้สาว : ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว.
  18. เช้ง, เช้งวับ : (ปาก) ว. สวยเพราะตกแต่งงามเป็นพิเศษ เช่น งามเช้ง แต่งตัวเสียเช้งวับ.
  19. เช็ด : ก. ทําให้แห้งหรือให้สะอาดโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผ้าหรือ กระดาษเป็นต้น เช่น เช็ดนํ้าตา เช็ดพื้น เช็ดถ้วยชาม, โดนถาก ๆ เช่น โดนหมัดเช็ดหน้าไป.
  20. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  21. เชลยศักดิ์ : ว. อยู่นอกทําเนียบนอกทะเบียน เช่น หมอเชลยศักดิ์นักสืบเชลยศักดิ์.
  22. เชษฐ- ๑ : [เชดถะ] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ). ว. ''เจริญที่สุด''. (ส.; ป. เชฏฺฐ), (ราชา) ถ้า ใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา undefined หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
  23. เชษฐ- ๓, เชษฐะ : [เชดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้าง หรือคอนาค เช่น อัษฐรัศนักษัตรสมบุรณยล บัญญัติเชษฐดารา. (สรรพสิทธิ์), ดาวเชษฐา ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
  24. เชอ : ก. เป็นคําใช้เข้าคู่กับคํา บําเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บําเรอ เชอภักดิ์. (ม. คําหลวง ชูชก), จํานําบําเรอเชอถนอม. (สรรพสิทธิ์).
  25. เช่า : โดยให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
  26. เช้า ๑ : น. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า; เร็วกว่าเวลาที่กําหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า; โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กําหนด.
  27. เช้า ๒ : (โบ) น. กระเช้า เช่น ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า. (ม. คําหลวง มัทรี).
  28. เชิง ๑ : น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกําแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
  29. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  30. เชิงกรวย : (กลอน) น. กรวยเชิง เช่น ภูษาเชิงกรวยรูจี. (อิเหนา).
  31. เชิงซ้อน : ว. ซับซ้อน, ซ้อนกัน, เช่น ภาพเชิงซ้อน, มีส่วนประกอบ หลายอย่าง เช่น จํานวนเชิงซ้อน.
  32. เชิงมุม : ว. เกี่ยวกับมุม เช่น ระยะสูงเชิงมุม.
  33. เชิงเวียน : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  34. เชิญ : ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทาน อาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพเช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าว อนุญาตให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.
  35. เชิด : ก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยาย หมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคําว่า ถูกเชิด. ว. ที่ ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา ไปมาอย่างรวดเร็วหรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขน ท่าหนึ่ง.
  36. เชีย : (โบ) ก. ไหว้ เช่น เชียเชิงเจ้าพ่อผัวแม่แง่. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  37. เชียง ๑ : น. คําเรียกเมืองทางภาคพายัพและเหนือขึ้นไป เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง.
  38. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  39. เชียร ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า. (แช่งนํ้า). (แผลงมาจาก ชีระ).
  40. เชื้อ ๑ : น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานอง เดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือ เผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
  41. เชื้อ ๒ : ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่ กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้ เนื่องในการอธิษฐาน.
  42. เชือก : น. สิ่งที่ทําด้วยด้ายหรือป่านปอเป็นต้น มักฟั่นหรือตีเกลียว สําหรับผูกหรือมัด; ลักษณนามเรียกช้างบ้าน เช่น ช้าง เชือกหนึ่ง ช้าง ๒ เชือก.
  43. เชือด : ก. ใช้ของมีคมเช่นมีดโกนตัดให้ลึกเข้าไปในเนื้อ เช่น เชือดคอ.
  44. เชื่อม ๑ : ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
  45. เชื่อม ๒ : ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทําให้ ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
  46. เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
  47. เชื้อรา : น. เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในกลุ่มพืชชั้นตํ่า บางชนิดทํา ให้เกิดโรค เช่น กลาก เกลื้อนได้.
  48. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  49. แช่ม : ว. แจ่มใส, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น แช่มช้อย แช่มชื่น.
  50. แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | [2601-2650] | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2416 sec)