Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3701-3750
  1. นิสัชชาการ : น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  2. นิสัย : น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
  3. นิสัยใจคอ : น. อัธยาศัย, นิสัยที่เกิดจากใจจริง เช่น นิสัยใจคอมีเมตตา กรุณา นิสัยใจคอโหดเหี้ยมทารุณ.
  4. นิสิต : น. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสํานัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).
  5. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  6. นี้ : ว. คําใช้ประกอบนามหรือข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น ทุกวันนี้ ชายคนนี้.
  7. นีรนาท : (กลอน) ก. กึกก้อง เช่น ปฐพีนีรนาทหวาดไหว. (คําพากย์), เนียรนาท ก็ใช้.
  8. นึก : ก. คิด เช่น นึกถึงความหลัง นึกถึงอนาคต นึกไม่ถึง, คิดขึ้นมาในฉับพลัน เช่น นึกขึ้นมาได้.
  9. นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
  10. นึ่ง : ก. ทําให้สุกหรือร้อนด้วยไอนํ้าร้อนในหวดหรือลังถึงเป็นต้น เช่น นึ่งข้าวเหนียว นึ่งขนม.
  11. นุ ๑ : (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  12. นุ ๒ : (โบ) ใช้เสริมแทรกเพื่อให้พยางค์สละสลวย เช่น พฤกษในนุพงไพร. (สมุทรโฆษ).
  13. นุ่ง ๑ : ก. ใช้ผ้าปกปิดกายท่อนล่าง เช่น นุ่งผ้าถุง นุ่งกางเกง, แต่เดิมหมายความ ว่า ปกปิดร่างกายท่อนบนก็ได้ เช่น นุ่งเสื้อ.
  14. นุงนัง : ว. เกี่ยวพันกันยุ่ง เช่น ลูกหลานนุงนัง หนี้สินนุงนัง, พันกันยุ่ง เช่น ด้ายยุ่งนุงนัง.
  15. นุ่งห่ม : ก. แต่งตัว เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย.
  16. นุ่มนวล : ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจา นุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
  17. เนตร : [เนด] (แบบ) น. ตา, ดวงตา. (ส.; ป. เนตฺต); ผู้นําทาง เช่น เนตรนารี.
  18. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  19. เน้นฟัน. : ว. ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น พูดเน้น.
  20. เนมิตกนาม : น. ชื่อที่เกิดขึ้นตามเหตุ คือลักษณะและคุณสมบัติ เช่น พระสุคต แปลว่า ผู้ดําเนินดีแล้ว.
  21. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  22. เนรนาด : [เนระ] (กลอน) ก. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด, เช่น เสมือนหนึ่ง ราชกัญญาคณานางสนมล้มเนรนาดด้วยอาลัย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (อาจเพี้ยนมาจาก ระเนระนาด).
  23. เนรนาถ : [เนระนาด] ก. ไม่มีที่พึ่ง, ซัดเซพเนจร, เช่น ก็เนรนาถประพาสพรต ยังเขาสิงขรบวรวงกต. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  24. เน้อ : ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
  25. เน่า : ว. เสียและมีกลิ่นเหม็น เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า.
  26. เน่าไฟ : ว. อาการที่ของเสียเพราะต้มไม่ถูกวิธี เช่น ต้มข้าวต้มมัดไม่สุก.
  27. เนิน : น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับเดิม เช่น เนินดิน เนินเขา; เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือว่า เนิน เช่น เนิน พระศุกร์ เนินพระพุธ.
  28. เนิ่นนาน : ว. ช้านานมาแล้ว เช่น ในเวลาเนิ่นนานมาแล้ว, นานมาก เช่น อย่าให้เนิ่นนานนะ.
  29. เนิ่น, เนิ่น ๆ : ว. ก่อนหน้าหรือก่อนเวลานาน ๆ เช่น มาแต่เนิ่น มาแต่เนิ่น ๆ ทําแต่ เนิ่น ๆ.
  30. เนิบ, เนิบ ๆ : ว. แช่มช้า, ช้า ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น เดินเนิบ ๆ พูดเนิบ ๆ.
  31. เนียน ๒ : ว. มีเนื้อละเอียดนุ่มนวล เช่น เนื้อเนียน; เรียบสนิท เช่น เข้าไม้ได้เนียนดี.
  32. เนียรนาท : [เนียระนาด] ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้.
  33. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  34. เนื้อกษัตริย์ : น. เนื้อโลหะ เช่น ทองคํา เงิน นาก ที่บริสุทธิ์, โดยปริยาย หมายถึงเนื้อแท้ของสิ่งนั้น ๆ.
  35. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  36. เนืองนอง : ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สินเนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
  37. เนืองนิตย์ : ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
  38. เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
  39. เนื้อตัว : น. ร่างกาย เช่น เนื้อตัวเหนอะหนะ.
  40. เนื้อนาบุญ : น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
  41. เนื้อผ้า : (สำ) น. ความจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
  42. เนือย, เนือย ๆ : ว. เฉื่อย, ช้าลง, อ่อนลง, เช่น ดูเนือยลงไป นํ้าไหลเนือย ๆ; ไม่กระปรี้ กระเปร่า เช่น ทํางานเนือย ๆ, ไม่ประเปรียว เช่น แก่แล้วชักเนือย.
  43. เนื้อเยื่อยึดต่อ : น. เนื้อเยื่อที่ยึดเหนี่ยวภายในระหว่างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและช่วยพยุงร่างกาย เช่น พังผืด ไขมัน เอ็น กระดูกอ่อน กระดูก. (อ. connective tissue).
  44. เนื้อร้าย ๑ : น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ.
  45. เนื้อหา : น. ใจความสําคัญ, ข้อสําคัญ, สาระสําคัญ; วงเงินตามข้อตกลงที่ จ้างหามา รวมทั้งค่ารถค่าอาหาร เป็นต้น (มักใช้แก่การมหรสพ เช่น ลิเก ละคร).
  46. เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
  47. แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
  48. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  49. แน่นนันต์ : (กลอน) ว. มากมาย, อัดแอ, คับคั่ง, ยัดเยียด, เช่น กรุงกษัตริย์ มาพร้อมประชุมกัน แน่นนันต์ในพระลานชัยศรี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  50. แน่นแฟ้น : ว. มั่นคง เช่น รักกันแน่นแฟ้น ผูกมัดแน่นแฟ้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | [3701-3750] | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2272 sec)