Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8501-8550
  1. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  2. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  3. อัตรา : [อัดตฺรา] น. ระดับที่กําหนดไว้, จํานวนที่จํากัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจําตามกําหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติ ร. ๓).
  4. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  5. อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  6. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  7. อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
  8. อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
  9. อันดับ : น. ชั้น เช่น พระสงฆ์นั่งตามอันดับ, ระเบียบ; ลําดับ เช่น สอบได้ ในอันดับต้น ๆ.
  10. อันตกิริยา : น. ''การกระทําซึ่งที่สุด'' หมายถึง ตาย เช่น เขากระทํา ซึ่งอันตกิริยา. (ป.).
  11. อันตรภาค : [พาก] (สถิติ) น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนน เป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของ คะแนนตั้งแต่ ๘๖๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.
  12. อันตรายิกธรรม : [ยิกะทํา] น. ''ธรรมที่ทําอันตราย'' หมายถึง เหตุ ขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
  13. อันติม, อันติมะ : [อันติมะ] ว. สุดท้าย, สูงสุด, เช่น ความจริงอันติมะ คือ ความจริง สุดท้าย ความจริงสูงสุด. (ป.; อ. ultimate).
  14. อันเตวาสิก : น. ''ชนผู้อยู่ในภายใน'' หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง หรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
  15. อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  16. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  17. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  18. อันธ : [อันทะ] ว. มืด, มืดมน, เช่น อันธกาล; โง่, ทึบ, เช่น อันธปัญญา; มองไม่เห็น, บอด, เช่น อันธจักษุ. (ป., ส.).
  19. อันเป็น, อันเป็นไป : น. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่ง คนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
  20. อันโยนย, อันโยนยะ : [โยนยะ] (โบ) ว. ''กันและกัน''. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อ?ฺ?ม?ฺ?); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คําว่า ''กัน'' เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.
  21. อันวย, อันวัย : [อันวะยะ] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).
  22. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  23. อับ ๒ : ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  24. อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  25. อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  26. อัประมาณ : [อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ; อประมาณ ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  27. อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  28. อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
  29. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  30. อัสดงคต : ว. ทางทิศตะวันตก เช่น อัสดงคตประเทศ. (ส. อสฺตมฺ + คต).
  31. อัสดง, อัสดม : [อัดสะ] ก. ตกไป (ใช้แก่พระอาทิตย์) เช่น อาทิตย์อัสดง. (ส. อสฺตมฺ).
  32. อ้า ๑ : ก. เปิด, แยกออก, แบะออก, เช่น ปากอ้า; ทําให้เปิด, ทําให้แยกออก, ทําให้แบะออก, เช่น อ้าปาก.
  33. อา ๒ : (กลอน) ว. คําออกเสียงท้ายคําพูดในความรําพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
  34. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  35. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  36. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  37. อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
  38. อากาศยาน : น. เครื่องนําไปทางอากาศ, ยานที่แล่นไปในอากาศ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์.
  39. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  40. อากูล : [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. อากุล).
  41. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  42. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  43. อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
  44. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  45. อ้าง : ก. ระบุ, บ่งถึง, เช่น อ้างพยาน; กล่าวถึง, ชี้เป็นหลัก, เช่น อ้างบาลี; ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ.
  46. อ่าง ๑ : น. ภาชนะสำหรับใส่น้ำเป็นต้น มักมีลักษณะกลม ปากผายก้นตื้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อ่างอาบนํ้า.
  47. อ้างว้าง : ว. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, เช่น รู้สึกอ้างว้าง.
  48. อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
  49. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  50. อาชญัปติ, อาชญัปติ์ : [อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คําสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺ?ปฺติ; ป. อาณตฺติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | [8501-8550] | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2464 sec)