Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 1551-1600
  1. ครอบจักรวาล ๑ : (ปาก) ว. ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ถามแบบ ครอบจักรวาลอย่างนี้ตอบยาก.
  2. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  3. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  4. คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
  5. คระ ๒ : [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย.
  6. คระเมิม : [คฺระ-] ว. ดุ, น่ากลัว, เช่น ครึ้มคระเมิมภัยรา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  7. ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
  8. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  9. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  10. คราก : [คฺราก] ก. ยืดขยายออกแล้วไม่คืนตัว เช่น กระเพาะคราก ท้องคราก; สึกกร่อน เช่น รูกลอนคราก รูรอดคราก; กระดูกตะโพกเคลื่อนที่ แยกออก เรียกว่า ตะโพกคราก.
  11. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  12. คราญ : [คฺราน] ว. งาม, สวย, น่ารัก, ใช้ประสมกับคําอื่น เช่น นงคราญ สะคราญ.
  13. คราด ๒ : [คฺราด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้าง ว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Spilanthes acmella Murr. ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่า ปลายนิ้วก้อย ชนิด S. oleracea (L.) Jacq. ใบหนากว่าชนิดแรกและดอก ทรงป้านกว่า, พายัพเรียก ผักเผ็ด.
  14. คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
  15. คราบ : [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
  16. คราม ๑ : [คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
  17. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  18. คราส : [คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  19. คร่ำ ๒ : [คฺรํ่า] ว. เก่ามาก เช่น โบสถ์หลังนี้เก่าคร่ำ.
  20. คร่ำคร่า : ว. เก่าแก่จนชํารุดทรุดโทรม เช่น กระท่อมเก่าคร่ำคร่า.
  21. คร่ำหวอด : (ปาก) ว. มีประสบการณ์สูง, มีความชํานาญสูงมาก, เช่น เขาคร่ำหวอดอยู่ในวงการเมือง.
  22. ครีครอ : [คฺรีคฺรอ] (โบ; กลอน) ว. รีรอ เช่น จักเลี้ยงชีพเคร่าครีครอ อยู่เท่าเพียงพอ ชีพิตก็ยากยังฉงน. (สมุทรโฆษ)
  23. ครีบ : [คฺรีบ] น. อวัยวะที่เป็นแผ่นติดกันเป็นพืดอยู่ใต้ท้องและสันหลังของปลา เป็นต้น; เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ครีบตาล คือ ครีบ ๒ ข้างของทางตาล มีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย.
  24. ครีม : [คฺรีม] น. หัวนํ้านมส่วนที่ลอยขึ้นมา; อาหารที่ผสมด้วยครีมหรือมีลักษณะ คล้ายครีม เช่น ครีมหน้าขนมเค้ก; สิ่งที่มีนํ้ามันผสมอยู่และมีลักษณะ เหนียวข้นคล้ายครีม จะมีครีมผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม เช่น ครีมทาหน้า ครีมใส่ผม. ว. สีอย่างสีขาวออกเหลือง. (อ. cream).
  25. ครึกครื้น : [คฺรึกคฺรื้น] ว. สนุกสนาน, ร่าเริง, เช่น ใจครึกครื้น; เอิกเกริก เช่น งานครึกครื้น ขบวนแห่ครึกครื้น.
  26. ครึ่งซีก : ว. ครึ่งหนึ่ง เช่น มะพร้าวครึ่งซีก, (ปาก) ครึ่งดวง, เรียกดวงจันทร์ ในวัน ๘ ค่ำว่า พระจันทร์ครึ่งซีก.
  27. ครึ่ด : [คฺรึ่ด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครึ่ด สีแดงครึ่ด, ครืด ก็ว่า.
  28. ครึ้ม : [คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทําให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.
  29. ครืด ๑ : [คฺรืด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครืด สีแดงครืด, ครึ่ด ก็ว่า.
  30. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  31. ครือ ๒, ครือ ๆ : [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ ขยันครือ ๆ กัน.
  32. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  33. ครุก- : [คะรุกะ-] (แบบ) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
  34. ครุคระ : [คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระ ขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  35. ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
  36. ครุภัณฑ์ : [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  37. ครู่ ๑ : [คฺรู่] น. เวลาชั่วขณะหนึ่ง เช่น เวลาชั่วครู่.
  38. คฤโฆษ : [คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
  39. คฤธระ : [คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็น ภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  40. คฤห, คฤห- : [คฺรึ, คะรึหะ-] น. เรือน, ช่องคูหา, ที่นั่งบนเรือหรือรถมีลักษณะ อย่างเรือน เช่น เรือคฤห รถคฤห. (ส.).
  41. คฤหา : (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่านนะพ่อ. (โลกนิติ).
  42. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  43. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  44. คลอก : [คฺลอก] ก. อาการที่ไฟล้อมเผาหนีออกไม่ได้ เช่น ถูกไฟคลอกตาย.
  45. คลอแคล : [-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.
  46. คล้อแคล้ : [คฺล้อแคฺล้] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง. (สมุทรโฆษ), คลอแคล ก็ว่า.
  47. คลอง : [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
  48. คล่อง : [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
  49. คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
  50. คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | [1551-1600] | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1575 sec)