Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3451-3500
  1. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  2. ทุมโน : [ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจ ไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  3. ทุร- : [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
  4. ทุรน : (กลอน) ก. เดือดร้อน, ดิ้นรน, เช่น จะทุรนเดือดแด. (นิทราชาคริต).
  5. ทุรัศ : (กลอน) ว. ไกล เช่น ทุรัศกันดาร. (ส.; ป. ทูร).
  6. ทุเรียน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กําปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
  7. ทุเลา : ก. ค่อยยังชั่ว เช่น ไข้ทุเลา; ผ่อนผัน เช่น ขอทุเลาไปอีกสัก ๒-๓ วัน.
  8. ทุส-, ทุสสะ : [ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
  9. ทู่ : ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไป เพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
  10. ทู ๑ : (กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคําโคทู. (เสือโค).
  11. ทูน ๑ : ก. เทิน, เอาของไว้บนศีรษะ, เช่น เอาของทูนหัว.
  12. ทูนหัว : น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว.
  13. ทูร- : [ทูระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).
  14. เท : ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือ ออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือ ตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.
  15. เท่ : ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.
  16. เท้ง ๒ : (กลอน) ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา. (ตะเลงพ่าย).
  17. เท้งเต้ง : ว. อาการที่ลอยไปลอยมาตามเรื่องตามราว เช่น เรือลอยเท้งเต้ง.
  18. เทง, เท้ง ๑ : (โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
  19. เทพ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เทพ เช่น เทพชาตรี เทพทอง เทพนิมิต เทพบรรทม เทพประทม เทพรัญจวน.
  20. เทพ ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะสูงกว่าชั้นราช ตํ่ากว่าชั้นธรรม เรียกว่า ชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี.
  21. เทพี ๑ : น. เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา ว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.
  22. เทศกาล : น. คราวสมัยที่กําหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทําบุญและ การรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทํานาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
  23. เทศ, เทศ-, เทศะ : [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  24. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  25. เทห์ฟากฟ้า : (ดารา) น. เทหวัตถุในท้องฟ้าหรือในอวกาศ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต, บางทีใช้ เทห์ฟ้า. (อ. celestial body, heavenly body).
  26. เทอะทะ : ว. ไม่ได้รูปได้ทรง (มักใช้แก่ลักษณะที่อ้วนหรือหนา) เช่น อ้วนเทอะทะ หนาเทอะทะ.
  27. เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
  28. เท่า ๑ : ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจํานวนเดิม.
  29. เท่าตัว : ว. มีขนาดเท่าตัวจริง เช่น หล่อรูปเท่าตัว, มีจํานวนหรือขนาด เพิ่มขึ้นเท่าจํานวนหรือขนาดเดิม เช่น แป้งฟูขึ้นอีกเท่าตัว ราคาสินค้า ขึ้นอีกเท่าตัว.
  30. เทาะห์ : (แบบ; โบ) ก. เผา เช่น ธานยเทาะห์ ชื่อพิธีเผาข้าว. (ป., ส. ทห).
  31. เทิ่ง : ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ มาเทิ่ง ๆ.
  32. เทิน ๒ : ก. ทูน เช่น เอาของเทินหัว.
  33. เทิบ, เทิบ ๆ, เทิบทาบ : ว. ไม่รัดกุม, หย่อนยาน, เช่น สวมเสื้อผ้าเทิบทาบ.
  34. เทียง : (โบ) น. กําแพง เช่น เทียงผา ว่า กําแพงหิน.
  35. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  36. เทียน ๒, เทียนบ้าน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Impatiens balsamina L. ในวงศ์ Balsaminaceae ลําต้นอวบ ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น ขาว ชมพู ม่วง.
  37. เทียน ๓ : น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้งของ ไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียน ข้าวเปลือก เทียนดํา เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ.
  38. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  39. เทียม ๑ : ก. เอาสัตว์พาหนะผูกเข้ากับยานหรือคราดไถเป็นต้น เช่น เทียมเกวียน
  40. เทียมบ่าเทียมไหล่ : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  41. เทียมรถ เทียมแอก. : ว. ทําเอาอย่างให้เหมือนหรือคล้ายของจริงของแท้ เช่น ทําเทียม ของเทียม ฝนเทียม ดาวเทียม; เสมอกัน, เท่ากัน, เช่น สูงเทียมเมฆ.
  42. เทียมหน้าเทียมตา : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  43. เที่ยว ๑ : น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกําหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอก อาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
  44. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  45. เที่ยว ๒ : ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
  46. เทื้อ ๒ : ว. สาวแก่, ทึนทึก; ไม่ว่องไว เช่น จะหนักเนื้อแลเทื้อองค์. (กฤษณา).
  47. เทือก : น. ที่ดินที่ไถและคราดแล้วทําให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า เช่น ทําเทือกตกกล้า, ขี้เทือก ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงที่ซึ่งเปรอะ เลอะเทอะเพราะยํ่ากันไปมา เช่น ยํ่าเป็นเทือก.
  48. แท้ : ว. ล้วน ๆ เช่น เทียนขี้ผึ้งแท้, ไม่มีอะไรเจือปน, ไม่ปลอม, เช่น ทองแท้.
  49. แท้ ๆ : ว. จริง ๆ, ยิ่งนัก, จริงทีเดียว, เช่น สวยแท้ ๆ ลูกของตัวแท้ ๆ.
  50. แทง : ก. เอาของแหลมทิ่มหรือปักเข้าไป; ลงบันทึก, ลงหมายเหตุ, เช่น แทงคําสั่ง แทงหนังสือ; เล่นการพนันบางชนิด เช่น แทงหวย แทงลอตเตอรี่ แทงโป, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น กระแสนํ้าแทงตลิ่ง ถูกนํ้าแทง แทงศอก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | [3451-3500] | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2078 sec)