Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5501-5550
  1. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  2. ยั้ว, ยั้วเยี้ย : ว. อาการที่คนหรือสัตว์จํานวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้า ยั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้.
  3. ยัวะ : (ปาก) ก. เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. ว. ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความ รุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ.
  4. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  5. ยาก : น. ความลําบาก. ว. ลําบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส.
  6. ยากเย็น : ว. ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น.
  7. ยากไร้ : ว. ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้.
  8. ยาเขียว ๑ : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  9. ยาง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้า ขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยาง ควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดู ผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
  10. ย่าง ๑ : ก. ทําให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ เพื่อให้สุกระอุทั่วกัน หรือให้แห้ง มัก ใช้แก่ของสด โดยปรกติใช้เวลานานกว่าปิ้ง เช่น ย่างไก่ ย่างหมู. ว. ที่ทํา ให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ไก่ย่าง หมูย่าง.
  11. ยาง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลําต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง.
  12. ย่าง ๒ : ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้า หน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี.
  13. ยาง ๓ : น. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง.
  14. ย่างกราย : ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไป ไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย.
  15. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  16. ยางพารา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลาย ชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
  17. ย่างสด : ก. เผาทั้งเป็น เช่น ถูกย่างสดในกองไฟ.
  18. ยาไฉน : [ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).
  19. ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  20. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  21. ยาน ๑ : น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
  22. ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
  23. ย่าน ๒ : น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
  24. ย่านพาโหม : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยา ได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
  25. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  26. ย่าม ๒ : ก. เหิม, ทะยาน, ได้ใจ, เช่น ย่ามใจ.
  27. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  28. ยามักการ : น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือ บาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.
  29. ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
  30. ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  31. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  32. ยาวความ : ว. ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ ยาวความ.
  33. ยาวเฟื้อย : ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย.
  34. ยาวยืด : ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้ จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืด เล่าไม่รู้จักจบ.
  35. ยาวเหยียด : ว. ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็น แถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนา สรรพคุณเสียยาวเหยียด.
  36. ยาสุมหัว : น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอก กระหม่อมเด็กแก้หวัด.
  37. ยาเสพติด : น. ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกัน ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทําให้ร่างกายและจิตใจ เสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา.
  38. ยาไส้ : (ปาก) ก. ประทังความหิว เช่น หากินไม่พอยาไส้.
  39. ยาหม้อใหญ่ : (สํา) น. สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่.
  40. ยำ ๑ : ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อ สัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  41. ย้ำ, ย้ำ ๆ : ก. พูดหรือทําซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมา กัดย้ำแต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
  42. ย่ำยี : ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
  43. ย่ำแย่ : ก. เหน็ดเหนื่อยมาก, ลำบากมาก, เช่น ทำงานย่ำแย่ ถูกใช้เสียย่ำแย่.
  44. ยำสลัด : น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมี เนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  45. ยิก, ยิก ๆ : ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้.
  46. ยิง : ก. ทําให้อาวุธเช่นลูกศรหรือลูกปืนแล่นออกไปโดยแรงด้วยกําลังส่ง เช่น ยิงธนู ยิงปืน.
  47. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  48. ยิ่งยวด : ว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า.
  49. ยิ่งใหญ่ : ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความ สามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  50. ยินลากขากดี : ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | [5501-5550] | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2082 sec)