Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8351-8400
  1. ไหว : ก. สั่น, สะเทือน, กระดิก, เช่น ใบไม้ไหว. ว. สามารถทําได้ เช่น เดินไหว สู้ไหว กินไหว.
  2. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  3. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  4. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  5. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  6. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  7. อกจะแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกจะแตก, อกแตก ก็ว่า.
  8. อกตั้ง : ว. เต็มที่, เต็มแรง, เช่น วิ่งอกตั้ง เดินอกตั้ง; เรียกอาการที่นั่ง หรือยืนตัวตรงว่า นั่งอกตั้ง ยืนอกตั้ง.
  9. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  10. อกรรมกริยา : [อะกํากฺริยา, อะกํากะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
  11. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  12. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  13. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  14. องค์ประชุม : น. จํานวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อ บังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.
  15. องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
  16. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  17. องศ์ : น. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศฺ) ว่า ๓ ส่วน.
  18. อจล : [อะจะละ] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).
  19. อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
  20. อธิ : คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
  21. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  22. อธิป, อธิป : [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้า คําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
  23. อน : [อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู ๒ประกอบ).
  24. อนวัช, อนวัช : [อะนะวัด, อะนะวัดชะ] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตําหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).
  25. อนันต, อนันต์ : [อะนันตะ, อะนัน] ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).
  26. อนากูล : ว. ไม่อากูล, ไม่คั่งค้าง, เช่น การงานอนากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. น + อากุล).
  27. อนามัย : น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ. ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษ เจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).
  28. อนีก, อนีกะ, อนึก : [อะนีกะ, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  29. อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  30. อนุกรม : [อะนุกฺรม] น. ลําดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็น ส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).
  31. อนุชิต : ก. ชนะเนือง ๆ เช่น อนุชิตชาญชัย.
  32. อนุตร : [อะนุดตะระ] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
  33. อนุพันธ์ : ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง. (วิทยา) น. สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง เช่น น้ำมันระกำ เป็นอนุพันธ์ของสารฟีนอล. (ป., ส.).
  34. อนุภาค : น. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วน ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. (อ. particle).
  35. อนุมูล : น. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทํา ปฏิกิริยาด้วยกันโดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูล ไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3). (อ. radical, radicle).
  36. อนุมูลกรด : น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจาก ที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). (อ. acid radical).
  37. อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
  38. อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
  39. อนุสาวรีย์ : [อะนุสาวะรี] น. สิ่งที่สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ สําคัญเป็นต้น เช่น อาคาร หลุมฝังศพ รูปปั้น.
  40. อเนก, อเนก : [อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.). อเนกประสงค์ [อะเหฺนกปฺระสง] ว. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความต้องการ.
  41. อบเชย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinnamomum วงศ์ Lauraceae ใช้ทํายาและปรุงนํ้าหอม เช่น อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (C. bejolghota Sweet), อบเชยจีน (C. aromaticum Nees), อบเชยเทศ (C. verum J. Presl).
  42. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  43. อประมาณ, อัประมาณ : [อะปฺระ, อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  44. อปรา : [อะปะรา, อับปะรา] (กลอน) ก. พ่ายแพ้ เช่น ต่อสู้เคี่ยวขับไม่อปรา หาไม่พ่อตาจะต้องริบ. (สังข์ทอง).
  45. อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
  46. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  47. อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์ : [อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
  48. อปโลกน์ ๒ : [อะปะโหฺลก] ว. ที่บอกเล่า เช่น คําอปโลกน์. (ป. อปโลกน).
  49. อภัยทาน : [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน. ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).
  50. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | [8351-8400] | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2203 sec)