Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 751-800
  1. กะเกาะ : (กลอน) ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคาะพระทวารดังกะเกาะก้องกึก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  2. กะชะ : น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สําหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.
  3. กะซวก : (ปาก) ก. แทง เช่น กะซวกไส้.
  4. กะซี่ : น. ผลหมากที่แกนไม่มีไส้ขาว, กะซี้ ก็ว่า เช่น กินหมากกะซี้ เป็นหนี้เขาจนตาย.
  5. กะดก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กาบ เช่น กะดกหมาก = กาบหมาก, ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ดก.
  6. กะดี : น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า พระแท่น).
  7. กะดี่ : ก. ดีดหรืองัดของหนักขึ้น เช่น กะดี่ซุง กะดี่เสา.
  8. กะเด้ : (ถิ่น) ว. ประเดี๋ยว เช่น รอกะเด้ = รอประเดี๋ยว, เดี๋ยวนี้ เช่น ไปกะเด้ = ไปเดี๋ยวนี้.
  9. กะได : (โบ) ว. เคย เช่น เดาะกะไดไดเลียม ลอดเคล้น. (นิ. นรินทร์).
  10. กะตรุด : [-ตฺรุด] (กลอน) น. ตะกรุด เช่น พระกะตรุดเลศเลขลง เลิศแล้ว. (พยุหยาตรา), กะตุด ก็ใช้.
  11. กะต่อย ๑ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, ลีบ, เช่น สะตอกะต่อย ว่า ลูกสะตอลีบ.
  12. กะตั้ก, กะตั้ก ๆ : (ปาก) น. กองใหญ่, จำนวนมากมาย, เช่น เขามีเงินเป็นกะตั้ก ๆ.
  13. กะตังกะติ้ว ๑ : น. น้ำยางที่ได้จากไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Apocynaceae เช่น มวก (Parameria barbata Schum.) กะตังกะติ้ว หรือ คุยช้าง (Willughbeia edulis Roxb.) และ ตังติ้ว (Urceola esculenta Benth.).
  14. กะติงกะแตง : ก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ. (ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.
  15. กะเตง : ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
  16. กะเตง ๆ : ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไป อย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.
  17. กะเทย : น. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการ ตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลําไยกะเทย. (อะหม ว่า เทย).
  18. กะเทาะ : ก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทําให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมาจาก พื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.
  19. กะบอนกะบึง : (กลอน) ก. โกรธอย่างแสนงอน, โดยมากใช้ กะบึงกะบอน. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยาบ่น) เช่น คอยสะบัดปัดกรกะบอนกะบึง. (อิเหนา), โดยมากใช้ กะบึงกะบอน.
  20. กะบ่อนกะแบ่น : ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น.
  21. กะบัง ๑ : น. เครื่องบัง เช่น กะบังหมวก, เครื่องกั้น, เครื่องรับ, เช่น กะบังหอก.
  22. กะปริบ : [-ปฺริบ] ก. กะพริบ, มักใช้ซ้ำคําว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทําตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.
  23. กะแปะ : น. เงินปลีกโบราณ เช่น กะแปะทองแดง กะแปะดีบุก, อีแปะ ก็เรียก.
  24. กะโปโล : ว. ไม่ได้เรื่องราว; มอมแมม เช่น เด็กกะโปโล.
  25. กะเผ่น : (กลอน) ว. เผ่น, ลอย, เช่น ชมบรรพตเสลาสูงกะเผ่น. (พงศ. เหนือ).
  26. กะพง ๑ : น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง (Lutjanus malabaricus) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว (Lates calcarifer) ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย (Datnioides quadrifasciatus) ในวงศ์ Lobotidae.
  27. กะพริบ : [-พฺริบ] ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
  28. กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
  29. กะยุ : (โบ) ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา. (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน. (พิชัยสงคราม).
  30. กะระตะ : (กลอน) ก. ขับม้าให้วิ่ง เช่น กะระตะอาชาชิงชัย. (อิเหนา). (ช. g้rtak).
  31. กะระหนะ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์ ทําตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณ เล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.
  32. กะรัต : [-หฺรัด] น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน, ปริมาณทองคําแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกําหนดทองคําและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคํา ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม. (อ. carat).
  33. กะราง, กะลาง : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวขนาดนกเอี้ยง หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น กะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus) กะรางคอดํา (G. chinensis). (ในรําพันนามพฤกษา ฯลฯ ว่ากะราง, ในพระลอ ว่า กะลาง).
  34. กะริงกะเรียด : (โบ) ว. คําพ้อชนิดหนึ่งว่าทําเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทําก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทํากะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
  35. กะรุน : น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้าเป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน. (อ. corundum).
  36. กะเรกะร่อน : น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cymbidium วงศ์ Orchidaceae อิงอาศัยตามต้นไม้ ใบเขียวหนา ยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว (C. bicolor Lindl.) ดอกสีขาว กะเรกะร่อนปากเป็ด (C. finlaysonianum Lindl.) ดอกสีเหลือง ปากสีแดงคล้ำ.
  37. กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  38. กะลอ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Muell. Arg.
  39. กะล่อยกะหลิบ : ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู; ดูเหมือนเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง, ดูเหมือนไม่นาน, เช่น ดูกะล่อยกะหลิบ เมื่อไม่นานมานี่เอง ล่วงเข้ามาหลายเดือนแล้ว.
  40. กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
  41. กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
  42. กะลำพอ : น. ต้นหลุมพอ เช่น โพกพายโพกะลําพอ. (ประชุมเชิญขวัญ). (ดู หลุมพอ).
  43. กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  44. กะหร็อมกะแหร็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ผมขึ้น กะหร็อมกะแหร็ม, หร็อมเเหร็ม หรือหย็อมเเหย็ม ก็ว่า.
  45. กะหราน : (ปาก) ว. อร่าม, ใช้ประกอบกับแดงหรือเหลือง เช่น แดงกะหราน เหลืองกะหราน.
  46. กะหล่ำ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. ในวงศ์ Cruciferae มีหลายพันธุ์ เช่น กะหล่าปลี หรือ กะหล่าใบ (B. oleracea L. var. capitata L.) กะหล่าดอก หรือ กะหล่าต้น (B. oleracea L. var. botrytis L.) กะหล่าดาว หรือ กะหล่าหัวลําต้น [B. oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.] และ กะหล่าปม (B. oleracea L. var. gongylodes L.).
  47. กะเหรี่ยง : น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตก ของประเทศไทย, โซ่ ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี.
  48. กะโหลก : [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลก มะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่ หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
  49. กะอาม : น. กะอวม เช่น กะอามลั่นทมชวน ใจรื่น รมย์นา. (พงศ. เหนือ).
  50. กะอูบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะ ใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1627 sec)