Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 4101-4150
  1. ประชัน : ว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยาย หมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.
  2. ประชา : น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
  3. ประชาคม : น. ชุมชน, กลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน.
  4. ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
  5. ประชาทัณฑ์ : น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทําร้าย เป็นการลงโทษบุคคล ที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดําเนินการตามกระบวนการ ยุติธรรม.
  6. ประชาธิปไตย : [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการ ปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา + ป. อธิปเตยฺย).
  7. ประชิด : ก. เข้าถึงตัว, เข้าชิดตัว, เช่น ผู้ร้ายมาประชิดตัว.
  8. ประชุม : ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยาย ใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุม พงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
  9. ประเชิญ : ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาด กลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
  10. ประณาม ๑ : ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  11. ประณาม ๒ : ก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง; ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
  12. ประณีต : ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่าง ประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอัน ประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).
  13. ประดง : น. ชื่อโรคผิวหนังจําพวกหนึ่ง ทําให้คันเป็นต้น ตามตําราแพทย์ แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม.
  14. ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
  15. ประดับ : ก. ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งต่าง ๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น เช่น ประดับ เหรียญตรา ประดับอาคารสถานที่ ประดับโคมไฟ, โดยปริยายหมาย ความว่า ประกอบ, เพิ่ม, เช่น ประดับบารมี.
  16. ประดา ๒ : ก. ดําทน เช่น ประดานํ้า ประดาดิน.
  17. ประดาษ : ว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษ วาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).
  18. ประดิทิน : ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
  19. ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ : [ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ?; ป. ปติฏฺ?).
  20. ประดิษฐาน : [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ใน ตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺ?าน; ป. ปติฏฺ?าน).
  21. ประดุจ : ว. เช่น, คล้าย, เหมือน, ดัง.
  22. ประเด : ก. มอบให้หมด เช่น ประเดงานเข้ามาจนทําไม่ไหว, ทุ่มเทให้ เช่น ประเดให้จนเกินต้องการ.
  23. ประเดยก : [ปฺระดะเหฺยก] (แบบ) ว. ปัจเจก เช่น เพราะกูเป็นประเดยก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
  24. ประเดิม : ก. เริ่มต้นหรือเริ่มแรกในการซื้อหรือขายเป็นต้น เช่น ประเดิมซื้อ ประเดิมขาย ประเดิมฝาก (มักใช้ในลักษณะที่เกี่ยวกับพิธีการ หรือโชคลาง).
  25. ประเดี๋ยว : น. ชั่วระยะเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง, ชั่วครู่หนึ่ง, เช่น รอประเดี๋ยวนะ, เดี๋ยว ก็ว่า. ประเดี๋ยวก่อน คําขอผัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง, เดี๋ยวก่อน ก็ว่า.
  26. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  27. ประถม : ว. ปฐม, ลําดับแรก, ลําดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและ มงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
  28. ประทบ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  29. ประทยด : [ปฺระเทียด] ก. ประชด เช่น จึงจะรุมโรมโซรมประทยด สยดตัดพ้อ. (ม. คําหลวง ชูชก); ว่าร้ายในเชิงเปรียบเทียบ.
  30. ประท้วง : ก. กระทําการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้าน เพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.
  31. ประทวน : น. ฐานันดรที่ตํ่ากว่าชั้นสัญญาบัตร เช่น นายทหารชั้นประทวน; สมณศักดิ์ชั้นตํ่ากว่าพระครูสัญญาบัตร; (โบ) หนังสือแทนสารกรมธรรม์.
  32. ประทัง : ก. ทําให้ทรงอยู่ได้, ทําให้ดํารงอยู่ได้, เช่น กินพอประทังชีวิต เรือนโย้เอาเสาไปคํ้าพอประทังไว้ก่อน.
  33. ประทัด ๑ : น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทําด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสําหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
  34. ประทับ : ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน, (ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง, เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
  35. ประทิน : ก. ทําให้สะอาดหมดจด เช่น ประทินผิว.
  36. ประทุมราค : [ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตาก ปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).
  37. ประทุษร้าย : [ปฺระทุดสะ-] ก. ทําให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทําให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
  38. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  39. ประเทือง : ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
  40. ประธาน ๑ : น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
  41. ประธาน ๒ : (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.
  42. ประนัง : ก. ประชุม, รวม, เช่น ประนังศัพท์ ว่า ประชุมเสียง, ประนังพล ว่า รวมพล. ว. พร้อม.
  43. ประปราน : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน). ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย,
  44. ประปราย : ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย, มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย.
  45. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  46. ประโปรย : [-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรย น้ำจากพระสุหร่าย.
  47. ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  48. ประพรม : [-พฺรม] ก. ประโปรยด้วยสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำ เช่น ประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำอบประพรมอัฐิ.
  49. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  50. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | [4101-4150] | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2515 sec)