Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6301-6350
  1. ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
  2. ล้ม : ก. กิริยาที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือทลายลง เช่น ต้นไม้ล้ม ล้มตัวลงนอน ตึกล้ม, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น ล้ม จอมปลวก ถูกผลักล้มลง, ตั้งอยู่ไม่ได้ เช่น กิจการล้ม ธนาคารล้ม โรงเรียนล้ม; ฆ่า เช่น ล้มวัว ล้มควาย, ตาย เช่น ช้างล้ม, ตัดโค่น เช่น ล้มกอไผ่; สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต เช่น ล้มคดี ล้มมวย. ว. ที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือ ทลายลง เช่น ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม; ที่สมยอมกันในทาง ไม่สุจริต เช่น มวยล้ม.
  3. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  4. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  5. ล้มกลิ้งล้มหงาย : ก. ล้มแล้ว กลิ้งพลิกไปพลิกมา เช่น ตกกระได ล้มกลิ้งล้มหงายลงมา.
  6. ล้มคว่ำคะมำหงาย : ก. ล้มกลิ้งหลายทอด เช่น ถูกม้าเตะล้มคว่ำ คะมำหงาย.
  7. ล่มจม : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น ค้าขายขาดทุนจนล่มจม, ย่อยยับ, ฉิบหาย, เช่น บ้านเมืองล่มจม.
  8. ลมตก : น. กระแสลมพัดอ่อน ๆ (มักพัดในเวลาเย็น) เช่น แดดร่ม ลมตก.
  9. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  10. ลมบน : น. กระแสลมเบื้องบน เช่น ว่าวติดลมบน.
  11. ลมปราณ : น. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้น ลมปราณ; วิธีกําหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
  12. ลมปาก : น. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูด ที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป.
  13. ล้มไม่ลง : ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ, โดย ปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.
  14. ล้มลุก : น. พืชที่มีอายุชั่วคราว เช่น พริก มะเขือ ถั่ว ข้าวโพด เรียกว่า พืชล้มลุก; เรียกตุ๊กตาชนิดหนึ่งเมื่อผลักล้มลงแล้วลุกขึ้นเองว่า ตุ๊กตาล้มลุก.
  15. ล้มลุกคลุกคลาน : ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุก คลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุก คลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
  16. ล้มเลิก : ก. เลิก เช่น ล้มเลิกกิจการ, ยกเลิก เช่น ล้มเลิกสัญญา, เลิกดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น ล้มเลิกโครงการ, เลิกล้ม ก็ว่า.
  17. ลม ๆ แล้ง ๆ : ว. เลื่อนลอยเปล่า ๆ, ไม่มีผล, เช่น ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะถูกสลากกินแบ่ง.
  18. ล่มสลาย : ก. สูญเสียสภาพเดิมแล้วสลายไป เช่น อาณาจักรโบราณ ล่มสลายไปหลายอาณาจักรแล้ว.
  19. ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
  20. ล้มหมอนนอนเสื่อ : ก. ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว เช่น เขาล้มหมอน นอนเสื่อเสียหลายวัน.
  21. ล่มหัวจมท้าย : ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้อง ล่มหัวจมท้ายด้วยกัน.
  22. ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
  23. ลวก ๆ : ว. อย่างหยาบ ๆ, มักง่าย, ยังไม่เรียบร้อย, เช่น ทำงานลวก ๆ พอ ให้เสร็จ ๆ ไป.
  24. ล่วง : ก. ผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขต หวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี.
  25. ล้วง : ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิด ที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
  26. ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
  27. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  28. ล่วงเกิน : ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  29. ล้วงควัก : ก. หยิบฉวยเอาสิ่งของเป็นต้นไปโดยพลการ เช่น มาล้วง ควักข้าวสาร ถ่าน เกลือของเจ้าของบ้านไป.
  30. ล่วงรู้ : ก. รู้เสียก่อน, รู้ทัน, เช่น ล่วงรู้ความลับของผู้อื่น.
  31. ล่วงลับ : ก. ตาย เช่น เขาล่วงลับไปแล้ว.
  32. ล่วงล้ำ : ก. ผ่านพ้นเกินเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า บุกรุก, ละเมิด, เช่น ข้าศึกล่วงล้ำชายแดน, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คําเดียว.
  33. ล่วงเลย : ก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อย วันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คําเดียว.
  34. ล่วงเวลา : ว. เกินเวลาหรือนอกเวลาที่มีกําหนดไว้ เช่น เงินค่า ล่วงเวลา ทำงานล่วงเวลา.
  35. ล่วงหน้า : ว. ก่อนกําหนด เช่น ไปล่วงหน้า รับเงินล่วงหน้า.
  36. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  37. ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
  38. ลวดลาย : น. ลายต่าง ๆ ที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถ ที่แสดงให้ปรากฏ เช่น นักฟุตบอลมีลวดลายในการส่งลูก, โดย ปริยายหมายความว่า มีลูกไม้หรือชั้นเชิงต่าง ๆ เช่น เขามีลวดลาย ในการพูดให้คนฮาได้ เขามีลวดลายในการเต้นรำ.
  39. ล้วนด้วย, ล้วนแล้ว : ว. แล้วด้วย, แล้วไปด้วย, เช่น ล้วนด้วยดอกไม้ สีขาวล้วนแล้วไปด้วยทอง.
  40. ล้วนแต่ : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  41. ล้วน, ล้วน ๆ : ว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงิน ล้วน ๆ.
  42. ลวนลาม : ก. ล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือการกระทำเกินสมควร เช่น นายดำชอบพูดจาลวนลามผู้หญิง เขาชอบถือโอกาสลวนลาม ด้วยการจับมือถือแขนผู้หญิง, ลามลวน ก็ว่า.
  43. ลหุ : [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
  44. ล้อ ๑ : น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ลูกล้อ ก็ว่า. ก. กลิ้งหมุนไปอย่างล้อรถ เช่น ล้อสตางค์ให้กลิ้งไป.
  45. ล่อ ๒ : ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
  46. ล้อ ๒ : ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญให้อายหรือ ให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียนข้อความให้ล้อกัน.
  47. ล็อก ๑ : น. หมู่อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือที่ดินที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ที่ดินผืนนี้มี ๓ ล็อก.
  48. ล็อก ๒ : น. ความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรื่องนี้เป็นไปตามล็อก.
  49. ล็อก ๓ : ก. ตวัดรัดให้แน่น เช่น ล็อกคอ ล็อกแขน.
  50. ลอการิทึม : (คณิต) น. ลอการิทึมของจํานวนใดจํานวนหนึ่งบนฐานที่กําหนดให้ คือ จํานวนที่บ่งแสดงกําลังของฐาน ซึ่งเมื่อฐานยกกําลังด้วยจํานวนนี้ แล้วย่อมมีค่าเท่ากับจํานวนที่กําหนดนั้น เช่น ลอการิทึมของ ๔๙ บน ฐาน ๗ คือ ๒ (เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า log749 = 2) ซึ่งหมายความว่า ๗๒ = ๔๙. (อ. logarithm).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | [6301-6350] | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2056 sec)