Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6551-6600
  1. ลิ้นจี่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litchi chinensis Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทย นางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี). ว. สีแดงเข้ม คล้ายเปลือกลิ้นจี่ เรียกว่า สีลิ้นจี่. (จ. อินจี).
  2. ลิ่นทะเล : น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกหอยในชั้น Polyplacophora ลําตัวเป็นรูปไข่ ผ่าซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันเหมือน กระเบื้องมุงหลังคา อยู่ตามโขดหินชายทะเล มีหลายสกุล เช่น สกุล Chiton, Acanthochiton, หอยแปดเกล็ด ก็เรียก.
  3. ลิบลับ : ว. พ้นสายตาไป เช่น อยู่เสียไกลลิบลับ.
  4. ลิบ, ลิบ ๆ : ว. สุดสายตา (ใช้เฉพาะไกลกับสูง) เช่น ไกลลิบ สูงลิบ ห่างกันลิบ ทิ้งกันลิบ มองเห็นยอดปราสาทลิบ ๆ.
  5. ลิบลิ่ว : ว. ไกลหรือสูงสุดสายตา เช่น ไกลลิบลิ่ว สูงลิบลิ่ว.
  6. ลิเภา : น. ชื่อเฟินเถาหลายชนิดในสกุล Lygodium วงศ์ Schizaeaceae เปลือกเถาใช้สานเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ชนิด L. circinatum (Burm.f.) Sw., L. salicifolium Presl, ย่านลิเภา หญ้าลิเภา หรือ หญ้ายายเภา ก็เรียก.
  7. ลิ้ม : ก. ชิม, ลองรสดูด้วยลิ้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลิ้มรสความลําบาก.
  8. ลิลิตดั้น : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้น สลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
  9. ลิลิตสุภาพ : น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้ โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่อง เดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
  10. ลิ่ว ๑ : ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อนไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการ ที่ตรงเข้ามาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
  11. ลิ่ว ๒ : ว. อาการที่เห็นไกลลิบหรือสูงลิบ เช่น เรืออยู่ไกลลิ่ว ภูเขาสูงลิ่ว.
  12. ลี่ ๓ : ว. อาการที่ลู่เอนไปข้างหลัง, ไม่กาง, (ใช้แก่หูของหมาเป็นต้น) เช่น หมาหูลี่. ก. แล่น เช่น ขนานลี่ ว่า เรือแล่น.
  13. ลีซอ : น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของ ประเทศไทย.
  14. ลีบ : ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อ เข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
  15. ลี้ภัย : ก. หลีกหนีภัย, หลบหนีภัย, เช่น ลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยสงคราม.
  16. ลี้ลับ : ว. ลึกซึ้ง เหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น บ้านอยู่ในซอกซอยลี้ลับทำให้หายาก; ลับลี้ ก็ว่า.
  17. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  18. ลีลาศ : ก. เต้นรําแบบตะวันตกบางชนิด เช่น ออกไปลีลาศ.
  19. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  20. ลึกซึ้ง : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง.
  21. ลึกลับ : ว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะ สืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่องลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.
  22. ลึกล้ำ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์ สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า.
  23. ลึกลือ : ว. ลึกมาก, ไกลมาก, เช่น เก็บของในที่ลึกลือ จอดรถในที่ ลึกลือ.
  24. ลึงค์ : น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
  25. ลื่น : ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจน จับไม่ติด.
  26. ลื้น, ลื้น ๆ : ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
  27. ลืม : ก. หายไปจากความจํา, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก, เช่น เขาลืมความหลัง ลืมชื่อเพื่อน, ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น เช่น ลืม ทำการบ้าน ลืมรดน้ำต้นไม้.
  28. ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
  29. ลืมตน : ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตน ไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิง อำนาจจนลืมตน.
  30. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  31. ลืมตา : ก. เปิดกลีบตา, ใช้ตรงข้ามกับ หลับตา; โดยปริยายหมาย ความว่า เกิด เช่น ตั้งแต่ลืมตาดูโลกก็สบายมาตลอด.
  32. ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก : ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม เพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  33. ลืมเลือน : ก. ลืมไปบ้างหรือค่อย ๆ ลืมไปจากความทรงจำ เช่น เรื่องนี้ลืมเลือนไปบ้างแล้ว.
  34. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  35. ลือ : ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่า จะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). (ข.). ลือชา, ลือชาปรากฏ
  36. ลือลั่น : ก. โด่งดังมาก เช่น ได้ยินเสียงลือลั่น.
  37. ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
  38. ลุก : ก. เคลื่อนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน เช่น ลุกจากเก้าอี้ ลุกจากที่นอน, ตั้งขึ้น เช่น ขนลุก; เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย. (จารึกสยาม); ไหม้โพลงขึ้น เช่น ไฟลุก.
  39. ลุกลน : ก. ทําโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะ หล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูด ลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.
  40. ลุกลา : ม ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
  41. ลุกลี้ลุกลน : ว. เร่งรีบอย่างไม่เป็นระเบียบ เช่น เขามีกิริยาลุกลี้ลุกลน เดินลุกลี้ ลุกลน.
  42. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  43. ลุแก่โทสะ, ลุโทสะ : ก. บันดาลโทสะ, โกรธมาก, เช่น เขาทำร้ายผู้อื่น ด้วยลุแก่โทสะ.
  44. ลุแก่อำนาจ, ลุอำนาจ : ก. ตกอยู่ในอำนาจ, ใช้อำนาจ, เช่น ลุอำนาจโทสะ.
  45. ลุ้น : (ปาก) ก. เอาใจช่วยเต็มที่ เช่น นั่งลุ้นฟุตบอลอยู่ข้างสนาม, สนับสนุน เช่น ลุ้นให้ได้ตำแหน่ง.
  46. ลุ่นตุ้น, ลุ่นโตง : ว. มีตอนปลายสุดหายเหี้ยนไปหมด เช่น นิ้วลุ่นตุ้น หางลุ่นโตง.
  47. ลุ่น, ลุ่น ๆ : ว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.
  48. ลุ่ม : ว. ตํ่า (ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับนํ้าที่ไหลท่วมได้หรือนํ้าขึ้นถึง) เช่น ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม, ตรงข้ามกับ ดอน.
  49. ลุ่ม ๆ ดอน ๆ : ว. สูง ๆ ต่ำ ๆ, ไม่สม่ำเสมอ, เช่น ที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ; ไม่ราบรื่น เช่น ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ.
  50. ลุ่มน้ำ : น. บริเวณที่ลุ่มซึ่งมีแม่น้ำสำคัญและสาขาไหลผ่าน เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | [6551-6600] | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2363 sec)