Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2501-2550
  1. ชวนหัว : ว. ที่ทําให้ขบขัน เช่น เรื่องชวนหัว ละครชวนหัว.
  2. ช่วย : ก. ส่งเสริมเพื่อให้สําเร็จประโยชน์; ป้องกัน เช่น ช่วยไม่ได้. ช่วยเหลือ ก. ช่วยกิจการของเขาเพื่อให้พร้อมมูลขึ้น.
  3. ชวัก : [ชะ] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
  4. ช่อ ๑ : น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้ บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือ เป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็น กลุ่ม หรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟโคมช่อองุ่น.
  5. ช่อง : น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
  6. ช่องว่าง : น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
  7. ชอน : ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่าง แสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา.
  8. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  9. ชอบ : ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิง ว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบ ที่จะทําได้.
  10. ชอุ่ม : [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้า จนเห็นเป็นมืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
  11. ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
  12. ชะงัด : ว. แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง, เช่น ยาขนานนี้แก้โรคปวดหัว ได้ชะงัดนัก.
  13. ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  14. ชะต้า : (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
  15. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  16. ชะมัด : ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า.
  17. ชะลอ : ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอ พระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทําให้ช้าลง, ทําให้ช้าลง เพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.
  18. ชะเลย : ก. ชะล่า เช่น พระทําเฉยจะให้นางชะเลยใจ. (อิเหนา).
  19. ชะวาด : น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม. (เห่เรือ).
  20. ชะวุ้ง : ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
  21. ชะเวิกชะวาก : ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก.
  22. ชะแวง : น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).
  23. ชัก ๑ : ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้น เคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้า ชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
  24. ชักเงา : ก. ทําให้เกิดเงา. ว. ที่ทําให้เกิดเงา เช่น นํ้ามันชักเงา.
  25. ชักแม่น้ำทั้งห้า : (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อ ขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  26. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  27. ชักหน้า ๑ : ก. ทําสีหน้าโกรธไม่พอใจ เช่น นางนั่งก้มพักตร์ แล้วชักหน้า. (อิเหนา), ชักสีหน้า ก็ว่า.
  28. ชัค : [ชักคะ] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
  29. ชังคา : (กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).
  30. ชัฏ : [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  31. ชัด : ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
  32. ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  33. ชัน ๒ : ก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.
  34. ชันโรง : [ชันนะ] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมี ขนาดลําตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้ง ธรรมดา รังทําจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ขนาดหอยโข่ง หรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่งหรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.
  35. ชันสูตร : [ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐาน ข้อเท็จจริง เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.
  36. ชัยศรี : [ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบ กับชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
  37. ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  38. ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  39. ชั่ว ๓ : บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
  40. ชา ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็น เครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดใน หลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยม ปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
  41. ช้า ๑ : ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า; ล่า, ไม่ทันเวลาที่กําหนด, เช่น มาช้า.
  42. ชา ๒ : ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึก ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
  43. ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
  44. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  45. ชา ๔ : ก. หมายไว้, กําหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณ ส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคํา กฎ เป็น กําหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบ เรือชา. (สมุทรโฆษ).
  46. ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
  47. ชา ๖ : ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
  48. ช่าง ๑ : น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไป ในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่าง เก่งจริง ๆ.
  49. ช่าง ๒ : ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
  50. ช้างสาร : (สำ) น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | [2501-2550] | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1566 sec)