Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 7151-7200
  1. ศิลปกรรม : น. สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.
  2. ศิลป์ไม่กินกัน. : (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สํา) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใด ต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
  3. ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
  4. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  5. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  6. ศิลปศึกษา : น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
  7. ศิลปหัตถกรรม : น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
  8. ศิลปะปฏิบัติ : น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.
  9. ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
  10. ศิลปะสถาปัตยกรรม : น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
  11. ศิษย์เก่า : น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
  12. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  13. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  14. ศึก : น. การใช้กําลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐ หรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐ หรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีก พวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิด ขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
  15. ศึกชิงนาง : น. การต่อสู้กันเพื่อให้ได้หญิงมา เช่น ศึกชิงนางระหว่าง อิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง.
  16. ศึกสงคราม : น. สงคราม เช่น ประเทศเพื่อนบ้านเกิดศึกสงคราม.
  17. ศึกเสือเหนือใต้ : (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
  18. ศุภมัสดุ : [มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้น ลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศ พระบรมราชโองการ.
  19. ศุภร : [สุบพฺระ] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ ไม่มีตําหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
  20. ศูนย์กลาง : น. แหล่งกลาง เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย, ศูนย์ ก็ว่า.
  21. ศูนย์การค้า : น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้า นานาชนิด มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.
  22. ศูนย์ถ่วง : น. จุดซึ่งถือว่าแนวน้ำหนักของวัตถุผ่านลงที่จุดนั้น เช่น ตุ๊กตาล้มลุกมีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ.
  23. ศูนย์เยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชน ไทยญี่ปุ่น ดินแดง.
  24. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  25. ศูนย์ไส้ : (โบ) น. จุดศูนย์กลาง เช่น คนมีศูนย์ไส้อยู่ที่สะดือ.
  26. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  27. เศร้า : [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
  28. เศร้าใจ : ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลาย แล้วเศร้าใจ.
  29. เศร้าสร้อย : ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า. เ
  30. เศร้าหมอง : ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.
  31. เศษ : ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  32. เศษกระดาษ : (ปาก) น. สิ่งที่ไร้ค่า เช่น ใบหุ้นที่ยกเลิกแล้วมีค่า เป็นเศษกระดาษ.
  33. เศษเกิน : (คณิต) น. จํานวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น ๓๒
  34. เศษซ้อน : (คณิต) น. จํานวนจริงที่เขียนเป็นรูปเศษส่วนหลาย ๆ ชั้น เช่น .
  35. เศษส่วน : น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียน ในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น (รูปภาพ) หรือ (รูปภาพ) จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. (อ. fraction).
  36. เศษสิบ : น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็น หน่วย ๑๐ เช่น ๘๑๐ .
  37. เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
  38. เศียร : [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
  39. โศก ๑, โศก : [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป.โสก).
  40. โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
  41. โศกเศร้า : ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตาย ทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า.
  42. โศกา, โศกี : ก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.
  43. โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
  44. ไศล, ไศล : [สะไหฺล, ไสละ] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล).
  45. : พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ษมา เศรษฐี และคําว่า อังกฤษ.
  46. ส ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
  47. ส ๒ : คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  48. สก ๓ : (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง เรียกว่า สก.
  49. สกปรก : [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
  50. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | [7151-7200] | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.3398 sec)