Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3651-3700
  1. นาฬิกา : น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่ว นาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
  2. นำ : ก. ไปข้างหน้า เช่น นําขบวน นําเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนํา, เริ่มต้น โดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทําตาม เช่น นําสวด นําวิ่ง, พา เช่น
  3. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  4. น้ำกระสาย : น. นํ้าใช้เป็นเครื่องแทรกยาไทย เช่น นํ้าเหล้า นํ้าซาวข้าว.
  5. น้ำกะทิ : น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด, นํ้าที่คั้นจากมะพร้าวขูดที่ผสม นํ้าตาลปึกกินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้า กะทิ ลอดช่องนํ้ากะทิ.
  6. น้ำเค็ม : น. นํ้าทะเล เช่น สัตว์นํ้าเค็ม, นํ้าที่มีรสเค็ม. ว. ที่เกิดหรือโต อยู่ในแถบชายทะเล เช่น ลูกนํ้าเค็ม.
  7. น้ำจิ้ม : น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  8. น้ำใจ : น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.
  9. น้ำดอกไม้ ๓ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลําตัว ค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลําตัวมีสีแตกต่าง กันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteri หรือนํ้าตาล อมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลําตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiae บ้างก็มีจุดหรือแต้มดํา เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐–๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.
  10. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  11. น้ำนมราชสีห์ : น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่น หอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาว คล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.
  12. น้ำนวล : ว. ผ่องใส, ผุดผ่อง, (มักใช้แก่ผิวพรรณและนิยมใช้คําอื่นแทรก) เช่น เป็นนํ้าเป็นนวลมีนํ้ามีนวล.
  13. น้ำนอง ๑ : น. ชื่อปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยง ลูกซึ่งบางครั้งอาจจะทํางานกันทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes monoceros,H. asahinai, H. birmanicus ในวงศ์ Termitidae.
  14. น้ำฝาด : น. น้ำที่มีรสฝาด เกิดจากการเอาเปลือกไม้แก่นไม้เป็นต้นของ ไม้บางชนิดเช่นขนุนมาต้ม ใช้ย้อมสบงจีวร, ฝาด ก็ว่า เช่น ผ้าย้อมฝาด. น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น. นํ้าที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน.
  15. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  16. น้ำมัน : น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดย ปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
  17. น้ำมือ : น. มือของตัวแท้ ๆ; รสมือ; ความสามารถในการทํา เช่น บํารุง สินค้าให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
  18. น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
  19. น้ำยา ๒ : (ปาก) น. ความสามารถในทางใดทางหนึ่ง (มักใช้ในทาง ตําหนิ) เช่น ไม่มีนํ้ายา หรือ หมดนํ้ายา หมายความว่า ไม่มีสติปัญญา ความสามารถ หรือ หมดความสามารถ.
  20. นำร่อง : ก. นําเรือกําปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้า หรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทําหน้าที่เช่นนั้นว่า พนักงานนําร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นําร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนําร่องว่า เรือนําร่อง; โดยปริยาย หมายถึงการริเริ่มหรือทดลองทำไปก่อน เช่น โครงการนำร่อง.
  21. น้ำเลี้ยง : น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยง ลูกตา นํ้าเลี้ยงลําต้น.
  22. น้ำสต๊อก : น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือ เล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผัก ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
  23. น้ำใสใจคอ : น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมี น้ำใสใจคอโอบอ้อมอารี.
  24. น้ำหน้า : น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  25. นิ : (โบ) ใช้เสริมคําให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สํานักนิ.
  26. นิกรอยด์ : [กฺรอย] น. ชนชาติผิวดํา มีลักษณะผิวดํา ผมหยิก ปากหนา. (อ. Negroid).
  27. นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  28. นิคม ๑ : น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
  29. นิคหิต : [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  30. นิคาลัย : (กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
  31. นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
  32. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  33. นิตย ๒ : [นิดตะยะ] น. นิติ เช่น ผู้ชํานินิตยสาตรไสย. (ตะเลงพ่าย). (แผลงมาจาก นิติ).
  34. นิตยสาร : น. หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน. (ส.).
  35. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  36. นิติเหตุ : (กฎ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย เช่น การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติการณ์.
  37. นิทรา : [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาว นิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
  38. นิทาน : น. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป; เหตุ เช่น โรคนิทาน; เรื่องเดิม เช่นวัตถุนิทาน. (ป.).
  39. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  40. นิบาตชาดก : น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
  41. นิ่ม ๑ : ว. อ่อนนุ่ม เช่น เนื้อนิ่ม มะตูมนิ่ม, ละเอียดอ่อน เช่น ผ้านี้เนื้อนิ่ม.
  42. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  43. นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
  44. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  45. นิยยานิก : [นิยะยานิกะ] (แบบ) ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
  46. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  47. นิราศ ๑ : [ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึง การจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือ โคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
  48. นิล ๑, นิล : [นิน, นินละ] น. พลอยชนิดหนึ่ง มีสีดํา ถ้าสีนํ้าเงินแก่ เรียก นิลสีดอก ผักตบ. ว. สีอย่างนิล เรียกว่า สีนิล เช่น ตาสีนิล. (ป., ส. นีล).
  49. นิษกรม : [นิดสะกฺรม] (แบบ; กลอน) ก. เฉย, ปราศจากกิริยา, เช่น ใจเน่งนิษกรม. (อนิรุทธ์). (ส.).
  50. นิสภ– : [–สะพะ–] (แบบ) ว. ผู้ประเสริฐ เช่น นิสภขัตติยวราเรืองพระยศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | [3651-3700] | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2152 sec)