Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5851-5900
  1. รัง ๒ : น. สิ่งซึ่งสัตว์พวกนก หนู และแมลงเป็นต้นทําขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย กําบังและฟักไข่เลี้ยงลูก,โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น รังโจร รังรัก.
  2. รังแก : ก. แกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก.
  3. รังควาน : ก. รบกวนทําให้รําคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น. น. ผีที่ประจําช้างป่า, ผีตายร้ายที่สิงอยู่ในกายคนได้.
  4. รังคัดรังแค, รังแครังคัด : ก. ตั้งข้อรังเกียจ เช่น ต่างฝ่ายต่างก็คอยแต่จะรังคัดรังแคกัน ลูกคนละแม่ มักจะรังแครังคัดกัน.
  5. รังแต่ : สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทา รังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.
  6. รั้งรอ : ก. รอคอย, หยุดคอย, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น โดยไม่รั้งรอ.
  7. รังหยาว : ก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนัง ทํารังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น–ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.
  8. รัชกาล : น. เวลาที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ๆ, โดยอนุโลมใช้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลนั้น ๆ เช่น รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น.
  9. รัญจวน : ก. ปั่นป่วนใจ เช่น กลิ่นหอมรัญจวนใจ, สะเทือนใจด้วยความกระสันถึง. (เทียบ ข. รํชวล).
  10. รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  11. รัฐพิธี : น. งานที่จัดขึ้นโดยรัฐเป็นธรรมเนียม เช่น รัฐพิธีพืชมงคล.
  12. รัฐ, รัฐ– : น. วิธีการปกครองบ้านเมือง. [รัด, รัดถะ–] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุด ของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).
  13. รัด : ก. โอบรอบหรือพันให้กระชับ เช่น กอดรัด งูเหลือมรัด เอายางรัด, คับ, ตึง, เช่น แขนเสื้อรัด กระโปรงรัดสะโพก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเม็ดต้อยติ่งพอกทําให้ฝีรัด.
  14. รัดกุม : ว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สํานวน รัดกุม.
  15. รัดเข็มขัด : (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชน ต้องรัดเข็มขัด.
  16. รัดตัว : ก. ทําให้ไม่คล่องตัว, ทําให้กระดิกกระเดี้ยไปไหนแทบไม่ได้, เช่น การเงินรัดตัว งานรัดตัว.
  17. รัดรึง : ก. กอดแน่น, ผูกแน่น, เช่น ความรักรัดรึงใจ.
  18. รัดรูป : ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
  19. รัต ๑ : ก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).
  20. รัต ๒, รัต– : น. ราตรี, กลางคืน, มักใช้ประกอบท้ายคํา เช่น ทีฆรัต ว่า ราตรียาว คือ เวลานาน. ว. ย้อมสี, มีสีแดง; กําหนัด, รักใคร่. (ป. รตฺต; ส. รกฺต).
  21. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  22. รัตนชาติ : น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
  23. รัตน–, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ –จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ –มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
  24. รัน : ก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.
  25. รั้น : ก. ร่นเข้าไป, ท้นเข้าไป, เช่น จมูกรั้น. ว. ดื้อดันทุรัง เช่น เด็กคนนี้ รั้นจริง.
  26. รันทด : ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.
  27. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  28. รับขวัญ : ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
  29. รับคำ : ก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำรับปาก เป็น รับปากรับคำ.
  30. รับเคราะห์ : ก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจ หรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย.
  31. รับงาน : ก. รับจ้างทำงานต่าง ๆ เช่น รับงานก่อสร้าง, รับจ้างแสดงการ ละเล่น เช่น รับงานแสดงดนตรี.
  32. รับจ้าง : ก. รับทำงานเพื่อค่าจ้าง เช่น รับจ้างทำงานบ้าน. ว. ที่รับทำงาน เพื่อค่าจ้าง เช่น ทหารรับจ้าง มือปืนรับจ้าง.
  33. รับช่วง : ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้ น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.
  34. รับใช้ : ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วย ความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  35. รับซื้อ : ก. ตกลงซื้อ เช่น รัฐบาลรับซื้อข้าวจากชาวนา.
  36. รับทุน : ก. รับเงินอุดหนุน เช่น รับทุนการศึกษา.
  37. รับประกัน : ก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี; (กฎ) รับรอง ว่าจะรับผิดแทนลูกหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา.
  38. รับประทาน : ก. กิน เช่น รับประทานอาหาร; (ราชา) รับของจากเจ้านาย เช่น รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจาก พระองค์เจ้า.
  39. รับปาก : ก. รับคำ เช่น เขารับปากว่าจะมารับ แต่ก็ไม่มา, บางทีก็ใช้เข้าคู่ กับคำ รับคำ เป็น รับปากรับคำ.
  40. รับผิดชอบ : ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือ ที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไป เถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.
  41. รับฟ้อง : ก. รับว่ามีหลักฐานฟ้องได้ (ใช้แก่ศาล) เช่น ศาลประทับรับฟ้อง.
  42. รับฟัง : ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้ บังคับบัญชา.
  43. รับฟังได้ : ก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้, เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.
  44. รับมือ : ก. ต่อต้าน, กําราบ, เช่น ส่งกองทหารไปรับมือข้าศึกที่ชายแดน.
  45. รับรอง : ก. รับประกัน เช่น รับรองว่าเป็นของแท้; ต้อนรับ เช่น รับรอง แขกเมือง.
  46. รับรู้ : ก. ยืนยันว่ารู้, รับว่ารู้; รับผิดชอบ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ลูก ไปทำผิด พ่อแม่จะไม่รับรู้ได้อย่างไร.
  47. รับสมอ้าง : ก. รับแทนผู้อื่น เช่น เขารับสมอ้างว่าเป็นเจ้าของบ่อน.
  48. รับสั่ง : (ราชา) น. คําสั่ง (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น มีรับสั่งให้เข้าเฝ้า. ก. พูด, บอก, (ใช้แก่เจ้านาย) เช่น ท่านรับสั่งให้หา.
  49. รับหน้า : ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.
  50. รับเหมา : ก. รับจ้างทำกิจการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนสำเร็จตามข้อตกลง เช่น รับเหมาก่อสร้างรับเหมาทาสี, โดยปริยายหมายความว่า รับทำงาน หลายรายการหรือรายการเดียวแต่มีจำนวนมากเพียงผู้เดียว เช่น เขารับ เหมางานพิสูจน์อักษรทั้งหมด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | [5851-5900] | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2259 sec)