Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3351-3400
  1. ทับ ๔ : (โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่น ที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
  2. ทับทาง : น. ชื่องูบกบางชนิด เช่น งูสามเหลี่ยม ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางเหลือง, งูทับสมิงคลา ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางขาว.
  3. ทับศัพท์ : ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธี ถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
  4. ทัป : น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
  5. ทั่ว : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  6. ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป : ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จํากัด เช่น กฎทั่วไป, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
  7. ทัศ : (แบบ) ว. สิบ เช่น ทัศนัข. (ส.); ครบ, ถ้วน, เช่น บารมี ๓๐ ทัศ.
  8. ทัศนศิลป์ : น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วย การจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
  9. ทัศนูปกรณ์ : น. อุปกรณ์ช่วยการเห็น เช่น กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์.
  10. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  11. ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
  12. ท้า : ก. ชวนขันสู้ เช่น ท้าพนัน ท้ารบ.
  13. ท่า ๑ : น. ฝั่งนํ้าสําหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สําหรับขึ้นลง ริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลําคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.
  14. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  15. ท่า ๓ : ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
  16. ทาก ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัว ขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือด ไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Haemadipsa interrupta ในวงศ์ Hirudidae.
  17. ทาก ๒ : น. ชื่อหอยกาบเดี่ยวหลายชนิด หลายวงศ์ ในชั้น Gastropoda เช่น ชนิด Achatina fulica วงศ์ Achatinidae มีเปลือกหุ้มตัว, ชนิด Limax flavus วงศ์ Limacidae ตัวแบนยาว มีเปลือกเล็กแบนมาก ไม่หุ้มตัว ทั้ง ๒ ชนิดอยู่บนบก.
  18. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  19. ทาง ๒ : น. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย, ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า ทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.
  20. ทางสามแพร่ง : น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมา บรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  21. ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
  22. ท่าทาง : ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
  23. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  24. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  25. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  26. ท่านั้นท่านี้ : (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
  27. ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
  28. ท่ามกลาง : น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
  29. ท้าย : น. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ, ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.
  30. ทาย ๒ : (กลอน) ก. ยก; ถือ เช่น ทายธนู ว่า ถือธนู.
  31. ท้ายครัว : (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่า เข้าทางภรรยา.
  32. ทายา : ว. ดี, สําคัญ, ที่ต้องการ, เช่น กูจะให้ขนมของทายา กินอร่อย หนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทยา ก็ใช้.
  33. ทายาด : ว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง ทายาด. (ยวนพ่าย).
  34. ทายาท : ฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททาง การเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้ รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
  35. ทารพี : [ทาระ-] (กลอน) น. ทัพพี, ทรพี, เช่น จัดแจงข้าวปลาทารพี. (ขุนช้างขุนแผน).
  36. ทาว : ก. อ้อนวอน, วิงวอน, ขอร้อง, เช่น ต้องทาวกันแล้วทาวกันเล่า.
  37. ท้าว ๒ : (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว. (สังข์ทอง).
  38. ท่าว, ทะท่าว : (กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
  39. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  40. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  41. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  42. ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  43. ทำตัว : ก. วางตัว, ประพฤติ, เช่น ทําตัวดี ทําตัวไม่ดี.
  44. ทำตา : ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทําตาเล็กตาน้อย ทําตาขุ่นตาเขียว.
  45. ทำนวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทํานวยน้อม. (สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).
  46. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  47. ทำนุบำรุง : ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทํานุบํารุงบิดามารดา ทํานุบํารุงบุตรธิดา, ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทํานุบํารุงวัด, ธํารงรักษาไว้ เช่น ทํานุบํารุงศาสนา ทํานุบํารุง บ้านเมือง, ทะนุบํารุง ก็ว่า.
  48. ทำเนียบ ๑ : น. ที่พักทางราชการของผู้มีตําแหน่งสูง เช่น ทําเนียบผู้สําเร็จราชการ, ที่ทําการของคณะรัฐบาล เรียกว่า ทําเนียบรัฐบาล.
  49. ทำเนียบ ๒ : ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลําดับตําแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบ แบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบสมณศักดิ์ ทําเนียบราชการ, การแบ่ง ประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบช้าง ทําเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
  50. ทำเนียบนาม : น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็น ทําเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | [3351-3400] | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2935 sec)