Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6351-6400
  1. ล่อง : น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
  2. ลอง ๑ : น. ของที่ทํารองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช; ส่วนที่ ประกอบชั้นนอกของพระโกศหรือโกศ เรียกว่า พระลอง หรือ ลอง.
  3. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  4. ลองใจ : ก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.
  5. ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
  6. ลองดี : ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่า ด้วยการลองดีกับตำรวจ.
  7. ลองธรรม์ : (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  8. ลองภูมิ : [–พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
  9. ล่องหน : ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคํา หายตัว เป็น ล่องหน หายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไป โดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
  10. ล่อใจ : ว. ชวนใจให้อยากได้ เช่น เอาของมาโฆษณาล่อใจ.
  11. ลอด : ก. ผ่านเข้าไปในช่อง หรือใต้สิ่งที่มีพื้น หรือสิ่งที่ขวางอยู่เบื้องบน เช่น ลอดราว ลอดอุโมงค์.
  12. ล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้ เช่น วางกระเป๋าสตางค์ไว้บนโต๊ะล่อตา ขโมย.
  13. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  14. ล่อน : ก. หลุดออกหมดไม่มีเหลือติดอยู่ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อ หรือสิ่ง ซึ่งห่อหุ้มอยู่) เช่น เงาะล่อน พริกไทยล่อน, หลุดออกเป็นชิ้นเป็น แผ่น เช่น สะเก็ดล่อน สีล่อน, หลุดออกง่ายเมื่อกะเทาะหรือแซะ ออกเป็นต้น เช่น แป้งขนมเบื้องล่อน.
  15. ล่อนแก่น : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว (ใช้แก่การพนัน) เช่น กินก่อนล่อนแก่น.
  16. ล่อนจ้อน : ว. ไม่มีอะไรปกปิดร่างกาย, ไม่มีอะไรติดตัว, เช่น เปลือยกายล่อนจ้อน, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีของมีค่าติดตัว เช่น มาแต่ตัวล่อนจ้อน.
  17. ลอบ ๑ : น. ชื่อเครื่องสานสําหรับดักปลาดักกุ้ง มีหลายชนิด เช่น ลอบนอน ลอบตั้ง ลอบประทุน; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ตาข่ายที่ขึงดักจับนก.
  18. ลอบ ๒ : ก. แอบทำโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็น เช่น ลอบทำร้าย ลอบเข้าไปในหมู่ข้าศึก.
  19. ล้อแบบ : ก. ทำคล้ายแบบ, ทำได้ใกล้เคียงแบบ, เช่น อาคารทรงไทย ในปัจจุบันล้อแบบเรือนไทยโบราณ.
  20. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  21. ล้อม : ก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทําร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.
  22. ลอมพอก : น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.
  23. ล้อมวง : ก. ป้องกันระวังโดยกวดขัน; นั่งหรือยืนเป็นวง เช่น ล้อมวง กินข้าว ล้อมวงจับระบำชาวไร่.
  24. ล่อมือ : ว. ชวนให้หยิบฉวยหรือขโมย เช่น ตากผ้าไว้ข้างรั้วล่อมือ ขโมย.
  25. ลอย : ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลัก แหล่ง, ไม่มีตําแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็น พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บน ผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้ม หรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
  26. ลอย ๆ : ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผล หรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  27. ลอยแก้ว : น. ของหวานทําด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อม เจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.
  28. ลอยชาย : ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้า ลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  29. ลอยดอก : (ปาก) ว. คําค่อนว่าผู้หญิงที่ประพฤติตัวไม่สมควร เช่น ล่อหรือยั่วยวนผู้ชายในที่เปิดเผย.
  30. ลอยตัว : ก. หมดภาระ, หมดปัญหายุ่งยาก, เช่น เมื่อปลดเปลื้อง หนี้สินได้หมดแล้ว เขาก็ลอยตัว; พ้นข้อผูกพัน เช่น ค่าเงินบาท ลอยตัว ราคาน้ำมันลอยตัว.
  31. ลอยนวล : ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไป อย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดิน ลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.
  32. ลอยน้ำ : ก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้; เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำเพื่อ อบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
  33. ลอยเป็นแพ : ก. ลอยพรืดไปเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ผักตบชวา ลอยเป็นแพ.
  34. ลอยแพ : ก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ, โดย ปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น โรงงาน ขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ.
  35. ลอยฟ้า, ลอยเมฆ : ก. ลอยอยู่บนฟ้า. ว. เลิศ เช่น สวยลอยฟ้า; สูงมาก เช่น สะพานลอยฟ้า ภัตตาคารลอยฟ้า.
  36. ลอยลำ : (ปาก) ว. เด็ดขาด เช่น เรือแข่งชนะลอยลำ ลอยลำเข้ารอบ.
  37. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  38. ล่อลวง : ก. ใช้อุบายทุจริตให้หลงเชื่อในสิ่งที่เป็นเท็จ เช่น ล่อลวง เด็กไปขาย.
  39. ล้อเล่น : ก. กิริยาหรือวาจาล้อเพื่อความสนุก เช่น พูดล้อเล่นอย่าถือ เป็นจริงจัง, หลอกเล่น ก็ว่า.
  40. ล้อเลียน : ก. เอาอย่างเพื่อยั่วเย้าเล่น เช่น พูดทำเสียงล้อเลียนคน ติดอ่างหรือคนพูดไม่ชัด แสดงกิริยาเดินขากะเผลกล้อเลียนคนขาเป๋.
  41. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  42. ล่อหน้า : ก. โผล่หน้ามาพอให้เห็น เช่น มีการมีงานเขาล่อหน้ามา เดี๋ยวเดียวก็ไป.
  43. ล่อหลอก : ก. ล่อให้เชื่อโดยมีเครื่องจูงใจ เช่น เอาตุ๊กตามาล่อหลอก เด็กให้หยุดร้องไห้, หลอกล่อ ก็ว่า.
  44. ล้อหลอก : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อ หลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
  45. ล่อหูล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่ง ทองเหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.
  46. ล่อแหลม : ว. หมิ่นเหม่, อยู่ในที่ใกล้อันตราย, เช่น แต่งตัวล่อแหลม พูดจาล่อแหลม ความประพฤติล่อแหลมต่อคุกตะราง.
  47. ลออ : [ละ–] ว. งาม เช่น นวลลออ เอี่ยมลออ. (ข.).
  48. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  49. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  50. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | [6351-6400] | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1981 sec)