Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 1351-1400
  1. ขาก ๒ : (โบ) ก. ภูมิใจ เช่น ความยินลากขากดีจะมีไหน. (อภัย). (ไทยใหญ่).
  2. ขาเกวียน : (โบ) น. ลูกล้อเกวียน เช่น ขาเกวียนขาหนึ่ง. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  3. ข้าง : น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
  4. ข้าง ๆ : ว. ใกล้ด้านข้าง เช่น ยืนอยู่ข้าง ๆ.
  5. ข่าง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) ก. ระบาย, ถ่าย, เช่น ข่างนํ้า ว่า ระบายนํ้า.
  6. ขาง ๔ : (ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทําให้ร้อน, ทําให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.
  7. ข้าง ๆ คู ๆ : ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.
  8. ข้างเคียง : ว. ที่อยู่ใกล้ ๆ, ที่สนิทชิดชอบกันมาก, เช่น คนข้างเคียง.
  9. ข้างลาย : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Therapon และ Pelates วงศ์ Theraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย เช่น ชนิด T. jarbua, P. quadrilineatus, ข้างตะเภา ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
  10. ขาด : ก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มี ไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็ม ตามจํานวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกําหนด เช่น ขาดเรียน ขาดประชุม.
  11. ขาดกัน : ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยก พลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
  12. ขาดใจ : ก. สิ้นใจ, ตาย; โดยปริยายหมายความว่า ยอด, มาก, เช่น สุดสวาทขาดใจ.
  13. ขาดลอย : ก. สูญไปโดยไม่มีหวังว่าจะได้คืน เช่น ว่าวขาดลอย, เด็ดขาด เช่น ชนะขาดลอย.
  14. ขาดหัวช้าง : ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน เช่น ผู้ใด ชนช้างมีชัยและข้าศึกขาดหัวช้าง. (กฎมนเทียรบาลในกฎ. ราชบุรี), ขาดคอช้าง ก็เรียก.
  15. ขาดเหลือ : ก. ไม่ครบตามที่ควรมี เช่น ถ้ามีสิ่งใดขาดเหลือ ก็ขอให้บอก.
  16. ขาดอายุ : ก. พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ใบขับขี่ขาดอายุ.
  17. ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
  18. ข้าม ๑ : ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
  19. ข้าม ๒, ข้าม ๆ : ว. เลยลําดับ, ไม่เป็นไปตามลําดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.
  20. ข่าย : น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาร่างแห; ขอบเขต เช่น เรื่องนี้ ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณา. (พายัพ ว่าห่าย).
  21. ขายหูขายตา : (แบบ) ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟัง ไม่อยากเห็น เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนำพารู้. (ลอ), ใช้ว่า ไขหูไขตา ก็มี.
  22. ข้าราชการ : น. (โบ) คนที่ทําราชการตามทําเนียบ; ผู้ปฏิบัติราชการ ในส่วนราชการ; (กฎ) บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจาก เงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการการเมือง ข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ.
  23. ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
  24. ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
  25. ข้าวเกรียบ : น. ของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่น ตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
  26. ข้าวเจ้า : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดใส ใช้หุงเป็นอาหาร เมื่อหุงแล้วเมล็ดมักร่วนและสวย มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวมันปู. (ไทยใหญ่ เจ้าว่า เปราะ, ร่วน, ไม่เหนียว).
  27. ข้าวต้ม ๑ : น. ข้าวที่ต้มให้สุก; ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตอง หรือใบมะพร้าวอ่อน แล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจําพวกขนม มีชื่อ ต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด.
  28. ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
  29. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  30. ข้าวนก ๒ : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง เช่น ถ้าทรงเรือแผงและเรือข้าวนกประพาสบัว. (ลัทธิ).
  31. ข้าวเบา : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว หางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ.
  32. ข้าวป่า : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Oryza วงศ์ Gramineae เช่น ข้าวละมาน (O. minuta J. Presl) มักขึ้นแซมต้นข้าว.
  33. ข้าวยำ : น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับ เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
  34. ข้าวสาร ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาในสกุล Raphistemma วงศ์ Asclepiadaceae เช่น ข้าวสารดอกใหญ่ [R. pulchellum (Roxb.) Wall.] ข้าวสารดอกเล็ก [R. hooperianum (Blume) Decne.] ทั้ง ๒ ชนิดนี้ดอกกินได้. (๒) ดู ชะเอม(๑).
  35. ข้าวหนัก : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖.
  36. ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
  37. ขำ ๑ : ว. มีลักษณะหน้าตาคมชวนให้มอง เช่น งามขํา ดำขำ; ขบขัน เช่น นึกขํา.
  38. ขำ ๒ : น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกาย เข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).
  39. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  40. ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  41. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  42. ขี้กา : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cucurbitaceae ผลกลมขนาดผลมะนาวถึงผลส้มเกลี้ยง สุกสีแดง เมล็ดสีเขียวแก่ มีเยื่อเป็นเมือก ๆ หุ้ม และมีรสขม เช่น ขี้กาแดง หรือ กระดึงช้างเผือก (Trichosanthes tricuspidata Lour.).
  43. ขี้คร้าน : ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง.
  44. ขี้จาบ : (ปาก) ว. หยาบคาย เช่น ชาติอ้ายขี้จาบปราบเพื่อนบ้าน. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).
  45. ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ : (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา.
  46. ขีณะ : (แบบ) ว. สิ้นไป เช่น ถั่นคํ่าขีณะแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.).
  47. ขีด : ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาว ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
  48. ขีดขั้น : น. ระดับแห่งความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ขีดขั้นแห่งสติปัญญา.
  49. ขีดคั่น : ก. ขีดกั้นไว้, กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว ให้ทำเครื่องหมายขีดคั่นไว้.
  50. ขี้ถัง : (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1510 sec)