Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3501-3550
  1. แท่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่ตันและกลมยาวหรือแบนหนา เช่น แท่งทอง แท่งเหล็ก แท่งหิน, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ชอล์กแท่งหนึ่ง ดินสอ ๒ แท่ง; เรียกชายที่หนุ่มแน่นยังไม่มีภรรยาว่า หนุ่มทั้งแท่ง.
  2. แทน : ก. สนอง เช่น แทนคุณ. ว. ต่าง เช่น เอาเกลือแทนนํ้าปลา, อาการที่ บุคคลหนึ่งทําหน้าที่ในฐานะของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น รักษาการแทน ทําแทน ไปแทน.''
  3. แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
  4. แทนที่จะ : สัน. ใช้ในความที่ขัดแย้งกัน เช่น แทนที่จะเขียนอย่างนั้น เขากลับเขียนอย่างนี้.
  5. แท่นที่บูชา, : (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
  6. แท่นพิมพ์ : น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่น มีหลายชนิด เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
  7. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  8. แทรกซ้อน : ว. ที่เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรกซ้อน ปัญหา แทรกซ้อน.
  9. แทะ : ก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทํามาหากิน มาคอยแทะเงินพ่อแม่.
  10. โท : ว. สอง, ชั้นที่ ๒ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้นหรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่าเอก สูงกว่าตรี) เช่น ร้อยโท ข้าราชการชั้นโท ปริญญาโท; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูป ดังนี้ ? ว่า ไม้โท. (ป. ทุ, ทฺวิ; ส. ทฺวิ).
  11. โทง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
  12. โทงเทง ๒ : ว. อาการที่เคลื่อนไปมีลักษณะโย่งเย่งส่ายไปมา เช่น เดินโทงเทง.
  13. โทโทษ : น. คําที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน ในบทนิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.
  14. โทน ๑ : น. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสําหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียว คล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. ว. มีจําเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.
  15. โทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่โทนโท่, ทนโท่ ก็ว่า.
  16. โทรม : [โซม] ก. เสื่อมสภาพเดิม เช่น เรือนหลังนี้โทรมมาก ปีนี้ดูโทรม ลงไปมาก ไฟโทรมแล้ว ผักโทรม; ทําให้ยอบลง เช่น โทรมหญ้า.
  17. โทศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เช่น ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๓๔๒.
  18. โทษกรณ์ : [โทดสะกอน] (กลอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่ง โทษกรณ์ ตนผิด. (นิทราชาคริต).
  19. โทษ, โทษ- : [โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความ เกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิด ให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).
  20. โทษโพย : [โทดโพย] (ปาก) น. โทษ, มักใช้แยกกัน เช่น ขอโทษ ขอโพย ถือโทษถือโพย.
  21. ไท ๑ : (โบ) น. ไทย เช่น ปีโถะหนไทกัดเหมา. (จารึกสยาม).
  22. ไทย ๑ : [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  23. ไทร : [ไซ] น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae มีหลายชนิด เช่น ไทรย้อย (F. benjamina L.) ไทรย้อยใบทู่ หรือ ไฮฮี (F. microcarpa L.f.).
  24. ธ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ.
  25. ธ ๒ : [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  26. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  27. ธนัง : (แบบ; กลอน) น. ทรัพย์สิน เช่น มันก็ไม่รู้มั่งที่จะให้เกิดทุนธนัง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  28. ธนาคารพาณิชย์ : (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภท รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ หมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าวด้วย.
  29. ธม : ว. ใหญ่, หลวง, เช่น นครธม. (ข. ธม).
  30. ธร : [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  31. ธรณิน : [ทอระ] (กลอน) น. ธรณี, แผ่นดิน, เช่น กึกก้องสะเทือนธรณิน. (ลอ).
  32. ธรณี : [ทอระนี] น. แผ่นดิน เช่น ธรณีสูบ, พื้นแผ่นดิน เช่น ธรณีวิทยา, โลก เช่น นางในธรณีไม่มีเหมือน. (ป., ส.).
  33. ธรณีประตู : น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
  34. ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
  35. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  36. ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
  37. ธรรมเจดีย์ : น. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึก พระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.
  38. ธรรมชาติ : น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพ ภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
  39. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  40. ธรรมธาดา : น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  41. ธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
  42. ธรรมิก, ธรรมิก : [ทํามิก, ทํามิกกะ] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็น ธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
  43. ธริษตรี, ธเรษตรี : [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทา ธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
  44. ธเรษตรีศวร : [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  45. ธัญ ๑ : [ทัน] (แบบ) ว. รุ่งเรือง, มั่งมี, มีโชค, ดี, เลิศ, เช่น ธัญลักษณ์ ว่า มีลักษณะดี. (ป. ธญฺ?; ส. ธนฺย).
  46. ธัญชาติ : น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
  47. ธัญพืช : น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺ?พีช; ส. ธานฺยวีช).
  48. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  49. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  50. ธาตุ ๔ : [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | [3501-3550] | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2889 sec)