Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 7751-7800
  1. หดหัว : ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอม โผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
  2. หดหาย : ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่ง หดหายไป.
  3. หดหู่ : ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  4. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  5. หนทาง : น. ทาง, ช่องทาง, เช่น เวลานี้เขาหมดหนทางทำมาหากินแล้ว.
  6. หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
  7. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  8. หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
  9. หนวด : [หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้น ยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว.
  10. หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
  11. หน่วยก้าน : น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป ได้ไกล.
  12. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  13. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  14. หนอก ๑ : [หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา ที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อย เช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.
  15. หน่อเนื้อเชื้อไข : น. ลูกหลานเหลนเป็นต้นที่สืบสายโลหิต, ผู้สืบสายโลหิต เช่น เขาเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของฉันเอง.
  16. หน่อย : ว. นิดหนึ่ง, น้อยหนึ่ง, ไม่มาก, เช่น ขอหน่อย เดินอีกหน่อยก็ถึง; ประเดี๋ยว, ไม่ช้า, ไม่นาน, เช่น รอหน่อย กินเหล้ามาก ๆ อีกหน่อยก็ตาย.
  17. หน็อยแน่ : ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทําผิดแล้ว ยังจะอวดดีอีก.
  18. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  19. หนักกบาล, หนักกบาลหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  20. หนักกะลาหัว : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำ อย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  21. หนักข้อ : ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าว อย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.
  22. หนักใจ : ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
  23. หนักท้อง : ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
  24. หนักนิดเบาหน่อย : ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.
  25. หนักแน่น : ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
  26. หนักปาก : ว. ไม่ทันได้พูด เช่น คุยกันอยู่ตั้งนาน หนักปากไปหน่อย เลยไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร.
  27. หนักมือ : ว. มากไป เช่น แกงหม้อนี้ใส่เกลือหนักมือไปหน่อย, แรงไป เช่น เด็กเล่นตุ๊กตาหนักมือไปหน่อย แขนตุ๊กตาเลยหลุด; กําเริบ เช่น โจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.
  28. หนักสมอง : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
  29. หนักหน่วง : ว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อ ส่งเสียให้ลูกเรียน.
  30. หนักหน้า : ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะ หนักหน้าอยู่คนเดียว.
  31. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  32. หนักหัวกบาล : (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัว ก็ว่า.
  33. หนักอก : ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ.
  34. หนัง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.
  35. หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
  36. หนังโลม : น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยว นางเบญกาย, โลม ก็ว่า.
  37. หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
  38. หนังหน้าไฟ : (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
  39. หนังเหนียว : ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิง ไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทัน ไปทุกสิ่งทุกอย่าง.
  40. หนั่น : ว. แน่น, แน่นหนา, เช่น เนื้อหนั่น. (โบ) ก. หนุน.
  41. หนับ : ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
  42. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  43. หนา ๒ : คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.
  44. หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  45. หน้ากระดาน : ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงาย หรือใต้บัวคว่ำ.
  46. หน้ากร้าน : น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
  47. หน้ากล้อ : น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
  48. หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  49. หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
  50. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | [7751-7800] | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2144 sec)