Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5951-6000
  1. ราน : ก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคําว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้น ๆ ทั่วไปบน พื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงา ก็ว่า.
  2. ร้าน : น. ที่ที่ปลูกยกพื้นขึ้นสําหรับนั่งหรือขายของเป็นต้น, สถานที่ขายของ, เรียกสิ่งที่ปักเสามีไม้พาดข้างบนให้ต้นไม้เลื้อยว่า ร้าน เช่น ร้านบวบ ร้านองุ่น.
  3. ราน้ำ : ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
  4. ราบ : ว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; undefined undefined
  5. ราบคาบ : ว. อาการที่ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ยอมแพ้อย่างราบคาบ; เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมือง สงบราบคาบตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ.
  6. ราบรื่น : ว. เรียบร้อย, ปราศจากอุปสรรคใด ๆ, เช่น งานสําเร็จลงอย่าง ราบรื่นชีวิตสมรสราบรื่น.
  7. ราบเรียบ : ว. ราบเสมอกัน เช่น ที่ราบเรียบ พื้นนํ้าราบเรียบ.
  8. ราม ๑ : ว. งาม เช่น นงราม; ปานกลาง, พอดีพองาม, เช่น มีพิหารอันราม มีพระพุทธรูปอันราม. (จารึกสยาม).
  9. รามา : (ปาก) ก. ข่มเหง, รบกวน, เช่น พอเมาเหล้าก็ชอบรามาชาวบ้าน.
  10. ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
  11. ร่าย ๑ : น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ;ทํานองร้องอย่างหนึ่งของละครรํา เรียกว่า ร้องร่าย.
  12. ร่าย ๒ : ก. บริกรรมเวทมนตร์คาถาเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายเวท ร่ายมนตร์ ร่ายคาถา.
  13. ร้ายกาจ : ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะ ส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.
  14. รายการ : น. บัญชีแจ้งชื่อและจํานวนเป็นต้นของสิ่งต่าง ๆ เช่น รายการ อาหารรายการแสดง.
  15. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  16. รายจ่าย : น. รายการจ่าย เช่น เดือนนี้รายจ่ายสูงกว่าเดือนที่แล้ว, คู่กับ รายรับ.
  17. รายได้ : น. เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เดือนนี้รายได้ดี.
  18. รายทาง : ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์ รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง.
  19. ร่ายไม้ : ก. เร่เตร่ไปเป็นจังหวะตามกิ่งไม้ เช่น นกร่ายไม้ กระแตร่ายไม้.
  20. รายรับ : น. รายการรับ เช่น เขามีรายรับเพิ่มขึ้น, คู่กับ รายจ่าย; (กฎ) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการ ประกอบกิจการ.
  21. ร้ายแรง : ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.
  22. รายละเอียด : น. ส่วนย่อยต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ.
  23. ร้าว : ว. มีรอยแตกลึกเป็นทางลงไปในเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้วร้าว จานร้าว ผนังร้าว.
  24. ราว ๑ : น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึง สำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้น สำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.
  25. ราว ๒, ราว ๆ : ว. เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่ห้อยเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวไปตามราว เช่น เบ็ดราว ธงราว ไฟราว; ในระดับใกล้เคียง, ประมาณ, เช่น สูงแค่ราวนม เวลาราว ๆ เที่ยง ราคาราว ๆ นั้นแหละ.
  26. ราวกะ, ราวกับ : ว. เช่นกับ, พอกับ, เช่น สวยราวกับนางฟ้า.
  27. ราวความ : น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความ ให้ละเอียด.
  28. ร้าวฉาน : ว. แตกร้าว, แตกร้าวกัน, โกรธเคืองกัน, เช่น การทะเลาะ เบาะแว้งทำให้เกิดร้าวฉานกัน.
  29. ราวนม : น. บริเวณนม เช่น เขาถูกยิงเหนือราวนม.
  30. ร้าวราน : ก. แตกสามัคคีกัน เช่น การดูหมิ่นกันทำให้เกิดร้าวรานในหมู่ เพื่อนฝูง.
  31. ร้าวรานใจ : ก. ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เช่น ถ้อยคำเสียดแทงทำให้ผู้ฟังร้าวรานใจ.
  32. ราวี : ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กําลังรังแก เป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.
  33. ราศี ๑ : น. กอง, หมู่, เช่น บุญราศี ว่า กองบุญ; ชื่อมาตราวัดจักรราศี คือ ๓๐ องศา เป็น ๑ ราศี,ถ้ากลุ่มดาวใดอยู่ในช่วงจักรราศีนั้น ก็เรียกชื่อราศีตาม กลุ่มดาวนั้น เช่น ราศีเมษ ราศีกรกฎ, อาทิตย์โคจรรอบจักรวาลผ่านหมู่ ดาว ๑๒ หมู่ และดาวหมู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ราศี ๑. (ส. ราศิ; ป. ราสิ).
  34. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  35. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  36. ร่ำ ๑ : ก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน; ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.
  37. รำ ๒ : ก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธ ประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือเช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของ ใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
  38. ร่ำ ๒ : ก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.
  39. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  40. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  41. ร่ำไป : ว. พรํ่าเพรื่อไป, บ่อย ๆ, เช่น เขาไปดูภาพยนตร์บ่อย ทำให้เสีย เงินร่ำไป.
  42. รำพัน : ก. พรํ่าพรรณนาตามอารมณ์ เช่น เขารำพันถึงความทุกข์ของตน แม่รำพัน แต่ความดีของลูก.
  43. รำพึง : ก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.
  44. รำพึงรำพัน : ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้ น่าอยู่จริงหนอ.
  45. รำไพ ๒ : ว. งามผุดผ่อง เช่น รําไพพรรณ.
  46. รำมะร่อ : ว. ในระยะทางหรือเวลาอันใกล้จวนเจียน เช่น จะสำเร็จการศึกษาอยู่ รำมะร่อ จะถึงบ้านอยู่รำมะร่อ, รอมร่อ ก็ว่า.
  47. รำแย้ : น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรําแย้ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  48. ร่ำร้อง : ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
  49. รำรำ, ร่ำร่ำ : ก. คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่ เช่น รำรำว่าจะไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างจังหวัดก็ ไม่ได้ไปเสียที ร่ำร่ำจะไปเที่ยวภูกระดึงก็ไม่ได้ไปเสียที. ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่นรำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลําลํา ก็ว่า.
  50. ร่ำรี้ร่ำไร : ก. ซํ้า ๆ ซาก ๆ อยู่นั่นเอง เช่น มัวแต่พูดร่ำรี้ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวงานก็ไม่เสร็จ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | [5951-6000] | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2323 sec)