Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8401-8450
  1. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  2. อภิชน, อภิชน : [อะพิชน, อะพิชะนะ] น. ชนผู้สืบมาจากตระกูลสูง. (ป., ส.).
  3. อภิธาน : น. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).
  4. อภินันทนาการ : น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  5. อภิมุข : น. หัวหน้า เช่น เสนาภิมุข = หัวหน้าทหาร. ว. หันหน้าตรงไป, ตรงหน้า. (ป., ส.).
  6. อม : ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
  7. อมต, อมตะ : [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
  8. อมทุกข์ : ว. มีความทุกข์สุมอยู่ เช่น หน้าตาอมทุกข์.
  9. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  10. อมภูมิ : [พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้ หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
  11. อมเลือดอมหนอง : ว. มีเลือดและหนองปนกันอยู่ข้างใน เช่น ฝีอมเลือดอมหนอง.
  12. อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
  13. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  14. อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
  15. อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
  16. อยู่ดีไม่ว่าดี : (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  17. อยู่ไปมา : ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
  18. อยู่แล้ว : ว. แย่แล้ว เช่น เอะกูอยู่แล้วนะเสนี เห็นไพรีจะมากมาย หลายหมื่น. (สังข์ทอง).
  19. อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
  20. อยู่อัตรา : (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติ อยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
  21. อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
  22. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  23. อร ๓ : ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  24. อรธาน : [ออระ] (โบ) ว. ที่ปล่อยปละละไว้โดยไม่หวงแหน เช่น ของอรธาน.
  25. อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  26. อรรถ, อรรถ : [อัด, อัดถะ] น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้ แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).
  27. อร่อย : [อะหฺร่อย] ว. มีรสดี (ใช้แก่ของกิน); (ปาก) ดี, ถึงใจ, ดุเดือด, เช่น มวยคู่นี้ต่อยกันอร่อยมาก.
  28. อรัญญิก : น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อาร?ฺ??ก ว่า เกี่ยวกับป่า).
  29. อร่าม : [อะหฺร่าม] ว. แพรวพราว, สว่างไสว, เช่น ใส่ทองอร่ามไปทั้งตัว เปิดไฟอร่ามไปทั้งห้อง.
  30. อล่องฉ่อง : [อะหฺล่อง] (ปาก) ว. ผุดผ่อง เช่น ผัดหน้าขาวอล่องฉ่อง.
  31. อลัชชี : ว. ไม่อาย, นอกจารีต. น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤติ นอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. (ป.).
  32. อลิงค์, อลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
  33. อลึ่งฉึ่ง : [อะหฺลึ่ง] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียก อาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.
  34. อโลหะ : น. ธาตุซึ่งมีสมบัติไม่เป็นโลหะ เช่น ถ่าน ออกซิเจน กํามะถัน ฟอสฟอรัส พวกอโลหะเมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนลบ.
  35. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  36. อวดรู้ : ก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.
  37. อวตาร : [อะวะตาน] ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. (ส.).
  38. อวบ : ว. มีเนื้อหนังสมบูรณ์เต่งตึงกว่าปรกติ แต่ไม่ถึงกับอ้วน เช่น แขนอวบ ขาอวบ, โตและเต่งกว่าปรกติ เช่น ผักบุ้งยอดอวบ มะม่วงลูกอวบ.
  39. อวบน้ำ : ว. มีเนื้อชุ่มนํ้า (ใช้แก่พืช) เช่น ต้นกระบองเพชรเป็นพืช ที่มีลําต้นอวบนํ้า.
  40. อวย ๑ : ก. ให้ เช่น อวยชัย อวยพร, โบราณใช้ว่า โอย ก็มี เช่น โอยทาน.
  41. อวิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  42. อโศก : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Saraca วงศ์ Leguminosae เช่น อโศกนํ้า (S. indica L.) ดอกสีส้มหรือแสด อโศกเหลือง (S. thaipingensis Cantley ex Prain) ดอกสีเหลือง, โศก ก็เรียก. (ส.; ป. อโสก ว่า ไม่โศก).
  43. อสังหาริมทรัพย์ : น. ทรัพย์ที่นําไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (กฎ) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการ ถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวม ถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.
  44. อสัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอสัตย์, อาสัตย์ ก็ว่า. (ส.; ป. อสจฺจ).
  45. อห : [อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคําที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.
  46. ออ ๑ : ก. รวมกันเป็นกลุ่ม, คั่งกันอยู่, เช่น คนอออยู่หน้าประตู.
  47. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  48. ออก ๑ : (โบ) น. คํานําหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกพระ ออกหลวง ออกขุน; (ถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กําเนิดว่า พ่อออก แม่ออก; เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก.
  49. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  50. ออกจะ : ว. ค่อนข้างจะ เช่น เธอออกจะอ้วน ของออกจะแพง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | [8401-8450] | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2328 sec)