Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 1401-1450
  1. ขี้เท่อ : ว. ไม่คม, ไม่ฉลาด, เซ่อ. น. ความโง่ เช่น ขยายขี้เท่อ.
  2. ขี้เทือก : น. ที่ดินที่ไถและคราดเป็นต้นแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตม เพื่อตกกล้า เช่น ทําขี้เทือกตกกล้า, เทือก ก็ว่า.
  3. ขีน : ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทํา แต่ยังกล้าทํา เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทําตาม เช่น ขืนคําสั่ง.
  4. ขีปนาวุธ : [ขีปะ-] น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหาร หรือทําลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนําไปสู่ เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. (อ. ballistic missile).
  5. ขี้เป้ : ว. ไม่ได้เรื่อง เช่น คนขี้เป้ ของขี้เป้.
  6. ขี้ผึ้ง ๑ : น. รังผึ้งที่เอามาหุงใช้ในการต่าง ๆ เช่น ทําเทียน ทำสีผึ้ง.
  7. ขี้เรื้อน : น. เรื้อน. (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน.
  8. ขี้ลีบ : (ปาก) น. ข้าวลีบ เช่น ชาวนาคัดเอาขี้ลีบออก.
  9. ขี้หน้า : น. หน้า (ใช้ในความหมั่นไส้ รังเกียจ หรือ ดูหมิ่น) เช่น เกลียดขี้หน้า ขายขี้หน้า.
  10. ขี้หมา : น. ก้อนขี้หมา, หัวขี้หมา ก็เรียก. (ดู ก้อนขี้หมา ที่ก้อน). (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า, ไร้สาระ, เช่น เรื่องขี้หมา ของขี้หมา.
  11. ขี้หมูราขี้หมาแห้ง : ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.
  12. ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  13. ขึ้ง : ก. แค้น, เคือง, โกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น โกรธขึ้ง ขึ้งโกรธ ขึ้งเคียด.
  14. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  15. ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  16. ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
  17. ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  18. ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
  19. ขึ้นไม้ขึ้นมือ : ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
  20. ขึ้นสนิม : ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
  21. ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
  22. ขืนใจ : ก. บังคับให้ยอมทําตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.
  23. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  24. ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
  25. ขุน ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสําคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา. ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติ ต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป.
  26. ขุนหลวง : (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
  27. ขุม : น. หลุม, ใช้ในบางลักษณะ เช่น ขุมขน ขุมนรก; แหล่งที่เกิดที่เก็บ เช่น ขุมทรัพย์; ลักษณนามใช้เรียกหน่วยที่ต่อรองกันในการพนันคราวหนึ่ง ๆ เช่น ๕ เอา ๑ เป็นหน่วยหนึ่ง เรียกว่า ขุมหนึ่ง.
  28. ขุย : น. ผงที่เกิดจากเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ติดอยู่ที่เนื้อนั้นเอง หรือหลุด ออกมากองอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผิวหนังเป็นขุย ขุยกระดาษ ขุยมด.
  29. ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  30. ขูด : ก. เอาของมีคมเป็นต้นครูด เช่น เอาช้อนขูดมะพร้าว เอาเล็บขูดขี้ผึ้ง, ครูดสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับของมีคม เช่น เอามะพร้าวไปขูดกับกระต่าย.
  31. เขก : ก. ใช้ด้านหลังของข้อนิ้วที่งอเข้าด้วยกันเคาะลงไป เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว.
  32. เข่ง : น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
  33. เข็ญ : [เข็น] ว. ยาก, ยากจน, เช่น ลําบากแสนเข็ญ.
  34. เขดา : [ขะเดา] น. กําเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).
  35. เขต : [เขด] น. แดนที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กําหนด ขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). (โบราณเขียนว่า เขตร).
  36. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  37. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  38. เข้ม : ว. แรงกล้า เช่น รสเข้ม เหล้าเข้ม; แก่, จัด, (มักใช้แก่สีและรส) เช่น สีเข้ม.
  39. เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
  40. เข็ม ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Ixora วงศ์ Rubiaceae ดอกตูมมีลักษณะ คล้ายเข็ม ดอกมี ๔ กลีบ สีต่าง ๆ เช่น เข็มพวงขาว (I. finlaysoniana Wall. ex G. Don) ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้, เข็มเศรษฐี (I. congesta Roxb.) ดอกสีแดง ออกเป็นช่อใหญ่.
  41. เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
  42. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  43. เขมร ๒ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เขมร เช่น เขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตว์ เขมรลออองค์.
  44. เขย : น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของ ลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
  45. เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
  46. เขยิน : [ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน ตะปูเขยิน.
  47. เขรอะ, เขลอะ : [เขฺรอะ, เขฺลอะ] ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเขรอะ, เกรอะ ก็ว่า; เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลนเขลอะ. ก. จับหรือเกาะซับซ้อนกันอยู่ เช่น สนิมเขรอะ ฝุ่นเขลอะ.
  48. เข่า : น. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สําหรับคู้ขาเข้าและ เหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.
  49. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  50. เขา ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1635 sec)