Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8301-8350
  1. แหวะ : [แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา; อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
  2. แห่แหน : [-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหน พระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
  3. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  4. โหง ๒ : ก. กระดกขึ้น, ยกขึ้น, เช่น เกวียนโหง.
  5. โหด ๑ : (โบ) ว. ไร้, ไม่มี, เช่น นกไร้ไม้โหด, ยากไร้ เช่น เพราะเห็นกูโหดหืน แลดูแคลนกูกลใด ด่งงนี้. (ม. คำหลวง มัทรี).
  6. โหด ๒ : ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
  7. โหน : [โหนฺ] ก. เหนี่ยวห้อย, เอามือเหนี่ยวให้ตัวลอยขึ้นไป; (ปาก) ประจบประแจง เช่น เขามีนิสัยชอบโหนผู้บังคับบัญชา.
  8. โหนก : [โหฺนก] ว. นูนยื่นออกมา เช่น หน้าผากโหนก.
  9. โหม่ : [โหฺม่] (ปาก) ก. โผล่. ว. โด่ เช่น นั่งหัวโหม่.
  10. โหม ๒ : [โหมฺ] ก. ระดม เช่น โหมกําลัง โหมไฟ.
  11. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  12. โหมโรง : น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
  13. โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
  14. โหยกเหยก : [โหฺยกเหฺยก] ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, ไม่แน่นอน, (ใช้แก่การพูด), เช่น พูดจาโหยกเหยก; โยเย, ขี้อ้อน, ร้องไห้งอแง, (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ โยเยโหยกเหยกจริง.
  15. โหยง : [โหฺยง] ว. อาการที่กระโดดโดยฉับไวด้วยดีใจหรือตกใจ เช่น กระโดดโหยง สะดุ้งโหยง.
  16. โหย่ง ๑ : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
  17. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  18. โหรง, โหรงเหรง : [โหฺรง, โหฺรงเหฺรง] ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา, คนดูโหรงเหรง, โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
  19. โหรา ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Araceae เช่น ชนิด Aglaonema brevispathum Engl., Pycnospatha arietina Gagnep. ชนิดหลังนี้ อุตพิดผี ก็เรียก.
  20. โหราเดือยไก่ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของพืชหลายชนิดในสกุล Aconitum วงศ์ Ranunculaceae เช่น ชนิด A. fischeri Rchb., A. carmichaeli Debx., A. chasmanthum Stapf มีพิษร้ายแรง ใช้ทํายาได้.
  21. โหล ๑ : [โหฺล] น. ลักษณนามบอกจํานวนนับหน่วยละ ๑๒ เช่น ดินสอโหลหนึ่ง ปากกา ๒ โหล. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ถือกันว่ามีคุณภาพตํ่า เช่น เสื้อโหล.
  22. โหลงโจ้ง : [โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
  23. โหลเหล : [-เหฺล] ว. ดูซูบซีดอิดโรย เช่น หน้าตาโหลเหล.
  24. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  25. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  26. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  27. ให้การ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จําเลยให้การต่อศาล.
  28. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  29. ใหญ่ : ว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่า เป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.
  30. ใหญ่น้อย : ว. บรรดา, ทั้งหลาย, เช่น สัตว์ใหญ่น้อยวิ่งหนีไฟป่า.
  31. ใหญ่หลวง : ว. รุนแรง, หนัก, เช่น บุญคุณของท่านใหญ่หลวงนัก.
  32. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  33. ให้แรง : ก. ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นต้น มักใช้กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ ตามความเชื่อ เช่น ผีให้แรง เทวดาให้แรง.
  34. ให้ศีล : ก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคน ควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.
  35. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  36. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  37. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  38. ให้หลัง : ก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่.
  39. ให้หูให้ตา : ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบ ความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หู''ให้ตาใคร ๆ.
  40. ให้ออก : (กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้น จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ (๓) ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใด กรณีหนึ่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ ให้ออก เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
  41. ไห้ : (วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่า รักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ร้อง เป็น ร้องไห้.
  42. ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
  43. ไหน ๑ : ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความสงสัยหรือคำถาม เช่น คนไหน อันไหน ที่ไหน, ถ้ามีคำ ก็ได้ ต่อท้าย แสดงถึงความไม่เจาะจง เช่น คนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้.
  44. ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
  45. ไหนจะ : ว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  46. ไหม้ ๑ : ก. ติดเชื้อไฟ, ลุก, เผา, (ใช้แก่ไฟหรือความร้อน). ว. ถูกความร้อนจน เกรียมหรือจนเป็นถ่าน เช่น ข้าวไหม้; เกรียม, ดําคลํ้า, (ใช้แก่ผิว).
  47. ไหม ๒ : ว. เป็นคําถาม มาจาก หรือไม่ เช่น กินไหม.
  48. ไหม ๓ : (โบ) ก. ปรับเอา เช่น ให้ไหมทวีคูณ. (สามดวง).
  49. ไหมหน้า : (กลอน) ก. หมายหน้า, ตราหน้า, เช่น ไหมหน้าว่าเบียนเมือง ข้าคิดเปลื้อง ทานทำแห่งหอคำข้าดอก. (ม. ร่ายยาว).
  50. ไหล ๑ : น. (๑) ชื่อปลารูปร่างกลมยาวคล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ เช่น ไหลนา หรือ ไหลบึง (Fluta alba) ในวงศ์ Flutidae ไหลทะเล (Ophichthys microcephalus) ในวงศ์ Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน. (๒) ดู มังกร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | [8301-8350] | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2738 sec)