Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5601-5650
  1. ยุทธโยธา : น. งานช่างที่เกี่ยวกับทหาร เช่น การขุดคูสนามเพลาะ.
  2. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  3. ยุทธหัตถี : น. การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่าง กษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหา อุปราชา, การชนช้าง ก็ว่า.
  4. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  5. ยุบยอบ : ก. น้อยลง, จนลง, ขัดสนลง, เช่น ใช้เท่าไร ๆ เงินก็ไม่ยุบยอบ.
  6. ยุบยับ : ว. อาการที่เสียแล้วเสียอีก, ย่อยยับ, เช่น เสียเงินยุบยับ.
  7. ยุบยิบ : ว. ละเอียดเกินไป, ถี่ถ้วนเกินไป, เช่น ตรวจยุบยิบ คิดยุบยิบทุกบาท ทุกสตางค์; อาการคันน้อย ๆ ทั่วทั้งตัวหรือเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น คันยุบยิบไปทั้งตัว คันจมูกยุบยิบ.
  8. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  9. ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
  10. ยุ่ย : ว. ผุหรือเปื่อยจนสลายตัวได้ง่าย เช่น ไม้เนื้อยุ่ย ดินยุ่ย.
  11. ยุ้ย : ว. ยื่นโป่งออกมาอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น แก้มยุ้ย เด็กพุงยุ้ย.
  12. ยุยง : ก. ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน.
  13. ยุแหย่ : ก. ยุให้เขาแตกกัน เช่น ยุแหย่ให้เขาแตกสามัคคี.
  14. ยู่ : ก. บู้, ย่น, เยิน, เช่น ฟันต้นไม้เสียมีดยู่ คมมีดยู่.
  15. ยู่ยี่ : ว. อาการที่ย่นหรือยับจนเสียรูป เช่น ผ้ายับยู่ยี่ ขยำกระดาษเสียยับยู่ยี่; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นแจ่มใส เช่น ตื่นนอนมาใหม่ ๆ หน้าตายู่ยี่.
  16. เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  17. เย็น ๒ : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  18. เย็นเจี๊ยบ : ว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.
  19. เย็นใจ : ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้ เย็นใจได้ สำเร็จแน่.
  20. เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
  21. เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  22. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  23. เย็นชา : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการ เย็นชา, ชาเย็น ก็ว่า.
  24. เย็นชืด : ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมด รสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
  25. เย็นชื่น : ว. เย็นสบาย เช่น ฝนตกใหม่ ๆ อากาศเย็นชื่น.
  26. เย็นชื้น : ว. เย็นอย่างมีไอน้ำซึมซาบอยู่ เช่น ฝนตกติดกันหลายวันอากาศ เย็นชื้น.
  27. เย็นตา : ว. ชื่นตา, สบายตา, ดูแล้วสบายใจ, เช่น สีเขียวอ่อนเย็นตา.
  28. เย็นเยียบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
  29. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  30. เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
  31. เย็นวูบ : ว. อาการที่ความเย็นมากระทบตัวโดยฉับพลันแล้วก็หายไป เช่น เข้าไปในห้องปรับอากาศรู้สึกเย็นวูบ.
  32. เย็นหู : ว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวล ฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
  33. เย็บ : ก. ทําให้ติดกันโดยใช้เข็มร้อยด้ายหรือเชือกเป็นต้นแทงขึ้นแทงลง เช่น เย็บผ้า เย็บกระสอบ, ใช้ตอกหรือหวายเป็นต้นที่มีปลายแหลมแทงขึ้นลง เพื่อร้อยสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ติดกัน เช่น เย็บจาก, ใช้เครื่องอุปกรณ์กดทำให้ กระดาษติดกันด้วยลวดเย็บ เช่น เย็บกระดาษ, กลัดให้ติดกันด้วยไม้กลัด เป็นต้น เช่น เย็บกระทง.
  34. เยอ ๑ : (ถิ่น) ว. ใหญ่ เช่น ผาเยอ.
  35. เยอะ ๑, เยอะแยะ : ว. มากเหลือหลาย, ถมไป, เช่น อาหารมีเยอะ ข้าวของเยอะแยะ.
  36. เย้า ๑ : น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้วเย้า.
  37. เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
  38. เยาว, เยาว์ : [เยาวะ, เยา] ว. อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลง มาจาก ยุว).
  39. เยาะ : ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความ ด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
  40. เยิง ๑ : ว. ป่าเถื่อน. น. ป่า เช่น มาแต่เยิง.
  41. เยิน : ว. ยู่, ย่น, เช่น คมมีดเยิน ตีตะปูจนหัวเยิน, บานออกจนเสียรูป เช่น ไข ตะปูควงจนหัวเยิน.
  42. เยิ่น : ว. มีระยะยาวหรือนานยืดออกไป; เนิบ เช่น อ่อนเยิ่น.
  43. เยิ่นเย้อ : ว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คําพูดหรือ ข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ.
  44. เยิบยาบ : ว. อาการไหวอยู่กับที่อย่างเนิบ ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่ อ่อนไหวได้ในตัว) เช่น หลังคาสังกะสีที่ตะปูหลุดไม่หมดถูกลมพัด เยิบยาบ ลมพัดผ้าคลุมป้ายปลิวไหวเยิบยาบ, พะเยิบพะยาบ ก็ว่า.
  45. เยิบ, เยิบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่แบนและยาวเมื่อรับน้ำหนักมาก ๆ จะไหวตัวขึ้นลง เป็นจังหวะเนิบ ๆ เช่น กระดานนอกชานอ่อนเยิบ หาบของมาเยิบ ๆ.
  46. เยิ้ม : ก. ซึมออกมาแทบหยด เช่น นํ้าเกลือเยิ้ม น้ำเหลืองเยิ้ม, ชุ่มมากแทบหยด เช่น ใส่นํ้ามันจนเยิ้ม, (โดยมากใช้แก่นํ้าหรือของเหลวที่มีลักษณะเหนียว เหนอะหนะ); โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม.
  47. เยี่ยง, เยี่ยงอย่าง : น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
  48. เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
  49. เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
  50. เยี่ยม ๒ : ว. ยิ่ง, เด่น, เลิศ, เช่น ดีเยี่ยม เขาเยี่ยมทางคำนวณ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | [5601-5650] | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2302 sec)