Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 4151-4200
  1. ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  2. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  3. ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  4. ประมวล : ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
  5. ประมวลกฎหมาย : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวม กฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.
  6. ประมาณ : ก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).
  7. ประมาณการ : น. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกําหนดไว้อย่าง คร่าว ๆ. ก. กะหรือกําหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.
  8. ประมาท : [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  9. ประเมิน : ก. กะประมาณค่าหรือราคาเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเมินราคา.
  10. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  11. ประยุกต์ : ก. นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นํา ความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา ประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
  12. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  13. ประโยชน์ : [ปฺระโหฺยด] น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตาม ต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).
  14. ประลอง : ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกําลัง ประลองความเร็ว.
  15. ประเล่ห์ : ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, เช่น, กล. (ส. ปฺรเหลิ).
  16. ประโลมโลก : ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
  17. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  18. ประวิง : ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.
  19. ประเวณี : น. การเสพสังวาส, การร่วมรส, ในคําว่า ร่วมประเวณี; ประเพณี เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย). ก. ประพฤติผิดเมียผู้อื่น เรียกว่า ล่วงประเวณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  20. ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  21. ประสา : น. วิสัยที่เป็นไป เช่น ตามประสาจน ตามประสาเด็ก ตามประสาใจ.
  22. ประสาท ๓ : [ปฺระสาด] น. ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  23. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  24. ประสานงา : ก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่าง รุนแรง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
  25. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  26. ประหนึ่ง : สัน. เช่น, ดัง, เหมือน.
  27. ประหยัด : ก. ยับยั้ง, ระมัดระวัง, เช่น ประหยัดปาก ประหยัดคํา; ใช้จ่ายแต่ พอควรแก่ฐานะ.
  28. ประหว่า : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
  29. ประหัต : [ปฺระหัด] ก. ประหาร เช่น ประหัตศัตรูออก. (สมุทรโฆษ). (ส. ปฺรหฺฤต; ป. ปหต).
  30. ประหาณ : น. การละ, การทิ้ง, เช่น สมุจเฉทประหาณ. (ส. ปฺรหาณ; ป. ปหาน).
  31. ประอุก : ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
  32. ปรัง : [ปฺรัง] น. เรียกนาที่ต้องทําในฤดูแล้งว่า นาปรัง. (ข. ปฺรัง ว่า ฤดูแล้ง). ว. เกินเวลา, เกินกําหนด, เช่น จมปรัง ว่า อยู่เกินเวลา.
  33. ปรั่น, ปรั้น : [ปฺรั่น, ปฺรั้น] ว. เสียงแปร้น เช่น ร้องก้องปรั่นประดิรพยทั่วแล. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  34. ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  35. ปราด : [ปฺราด] ก. แล่นอย่างฉับไว เช่น ปราดเข้าใส่. ว. อาการที่เป็นไป อย่างฉับไว เช่น วิ่งปราด.
  36. ปรานีตีเอาเรือ : (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้าย ตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
  37. ปรานีปราศรัย : [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  38. ปราย : [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
  39. ปริ- ๑ : [ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
  40. ปริทรรศน์ : [ปะริทัด] น. ชื่อกล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กําบัง ขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มอง เช่น กล้องเรือดํานํ้า, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
  41. ปริปาก : ก. แย้มปากพูดออกมา (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าปริปากบอกใครนะ.
  42. ปริ่ม : [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  43. ปริมณฑล : [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล. (ป.).
  44. ปริมาตร : [ปะริมาด] น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุ ปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต.
  45. ปริวรรต, ปริวรรต- : [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  46. ปริวัตร : [ปะริวัด] (แบบ) ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตร เป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
  47. ปริสัญญู : [ปะริสันยู] น. ผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชน นั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทํากิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. (ป.).
  48. ปรี่ : [ปฺรี่] ก. รี่ เช่น ปรี่เข้าใส่. ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้น มิล้นแหล่, ริน ๆ เช่น ไหลปรี่.
  49. ปรีชญา : [ปฺรีดยา] (แบบ) น. ปรีชา เช่น อันประกอบด้วยจักษุคือปรีชญา. (นันโท). (ส. ปฺริชฺ?า).
  50. ปรี๊ด : [ปฺรี๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด; มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว); เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | [4151-4200] | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1958 sec)