Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2101-2150
  1. จะ ๒ : เป็นคําช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.
  2. จ๊ะ ๒ : ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
  3. จ๋ะ ๒ : ว. เสียงประกอบคําเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคํา จ๋า).
  4. จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
  5. จะกรุน, จะกรูน : ว. สีดํา, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชํานิเมามัน หลากหลาก หลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
  6. จะงอย : น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
  7. จะจะ : ว. ให้ชัดเจน, กระจ่าง, เช่น เขียนจะจะ; ห่างเป็นระยะ ๆ เช่น ดํานาจะจะ.
  8. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  9. จะบัน : ก. ตะบัน, ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง, เช่น ดาบดั้งดึงโดดดั้น จะบันแรง. (ยอพระเกียรติกรุงธน).
  10. จะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบ สําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.
  11. จัก ๒ : (ไว) คําช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.
  12. จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
  13. จักร, จักร- : [จัก, จักกฺระ-] น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียก เครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุนว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า; บรรจบรอบแห่งปีหรือแห่งฤดู เช่น พฤหัสบดีจักร.(ส., ป. จกฺก).
  14. จักรวรรดิ : [-หฺวัด] น. รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยการ ปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ. (ส.; อ. empire).
  15. จักแหล่น, จั๊กแหล่น : [จักกะแหฺล่น, จั๊กกะแหฺล่น] (ปาก) ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
  16. จัง : (ปาก) ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง; เต็มที่, เต็มแรง, เช่น ชนกันเข้าอย่างจัง.
  17. จั้ง : (โบ) ก. ตั้ง เช่น คือคชกลับกลอกจั้ง จญสีห์. (ยวนพ่าย).
  18. จังกวด ๒ : (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
  19. จังเก : น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง). (ข. จงฺเกะ).
  20. จังหน้า : ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  21. จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
  22. จังหวัด : (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้า ด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะ ป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศ เพื่อกัลปนา).
  23. จัณฑวาตา : (แบบ) น. ลมร้าย เช่น จัณฑวาตารําพายพาน. (สมุทรโฆษ).
  24. จัด ๑ : ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
  25. จัด ๒ : ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทําให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลําดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
  26. จัตวา : [จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ + ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
  27. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  28. จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  29. จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  30. จันทรคติ : น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึง เดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
  31. จันทรเม็ด : [จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
  32. จันอับ : น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.
  33. จับ : ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกําไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราส จับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะ กุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มี อํานาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทําขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
  34. จับกิ้ม : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
  35. จับกุม : ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดย เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.
  36. จับได้ไล่ทัน : (สำ) ก. รู้เท่าทัน เช่น เขาจับได้ไล่ทันว่าเป็นเรื่องไม่จริง.
  37. จับเปาะ : (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
  38. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  39. จับหลัก : (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.
  40. จับหวัด : (โบ) ก. ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอก กระหม่อมแก้หวัด.
  41. จัมบก, จัมปกะ : [จําบก] (แบบ) น. ต้นจําปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  42. จ้า : ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.
  43. จ๋า : ว. คําขานรับ; คําลงท้ายคําร้องเรียก เช่น หนูจ๋า.
  44. จ่า ๑ : น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตํารวจชั้นประทวน
  45. จาก ๒ : ก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คํานําหน้านาม บอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่ เช่น จากเช้าจดคํ่า.
  46. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  47. จาน ๒ : ก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.
  48. จาบ ๒ : (กลอน) น. นกกระจาบ เช่น มีกุโงกกุงานแลกุงอน นกจิบจาบซอบ. (สมุทรโฆษ).
  49. จาบคา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Meropidae ลำตัวเรียวบาง สีออกเขียว ปากสีดำ ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด สร้างรังเป็นโพรงในดิน หรือตามหน้าผาเป็นกลุ่ม กินแมลง มีหลายชนิด เช่น จาบคาเคราแดง (Nyctyornis amictus) จาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) ซึ่งเดิมเรียก คับคา.
  50. จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | [2101-2150] | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1354 sec)