Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5201-5250
  1. มันปู : ว. สีแดงเจือเหลืองกับดํา เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้ นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.
  2. มันไส้ : ก. ชังนํ้าหน้า เช่น ยิ่งโกรธาหุนหันมันไส้. (ไชยเชฐ), หมั่นไส้ ก็ว่า.
  3. มั่นหมาย : ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่ เช่น เขามั่นหมายว่าจะได้งานทำ, หมายมั่น ก็ว่า.
  4. มั่นเหมาะ : ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.
  5. มับ : ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
  6. มัย ๒ : ว. สําเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น มโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่า ประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).
  7. มั่ว : ก. สุมกัน, รวมกัน, ออกัน, ประชุม; ปะปนกันจนแยกไม่ออก เช่น วางของมั่วไปหมด.
  8. มัวซัว : ว. ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, ไม่เบิกบาน, ไม่สดชื่น, เช่น หูตามัวซัว ผ้าสีตกมัวซัว.
  9. มัวแต่ : ว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
  10. มัว, มัว ๆ : ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
  11. มั่วสุม : ก. ชุมนุมกันเพื่อกระทําการในทางไม่ดี เช่น มั่วสุมเล่นการพนัน.
  12. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  13. มาก : ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก. มากขี้ควายหลายขี้ช้าง (สํา) ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้.
  14. มากมาย, มากมายก่ายกอง : ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมาย ก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.
  15. มากหน้าหลายตา : ว. มากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา.
  16. มาด ๒ : (ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.
  17. มาตร ๑, มาตร- ๑ : [มาด, มาดตฺระ-] น. เครื่องสำหรับวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตรน้ำ มาตรไฟฟ้า, มิเตอร์ ก็ว่า. (ส. มาตฺร; ป. มตฺต).
  18. มาตรการ : [มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการ ปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสําเร็จ เช่น วางมาตรการ ในการดําเนินงาน.
  19. มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  20. มาตรแม้น : [มาด-] สัน. หากว่า, แม้ว่า, เช่น มาตรแม้นดวงใจอยากได้คู่.
  21. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  22. มาตราพฤติ : น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์ แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
  23. มาติกา : [มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).
  24. มาน ๑ : น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
  25. ม่าน ๑ : น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
  26. มาน ๒ : น. ความถือตัว; ใจ, ดวงใจ, เช่น ดวงมาน. (ป., ส.).
  27. มาน ๓ : ก. มี เช่น มานพระบัณฑูร. (ข.).
  28. มาน ๔ : (ถิ่น) ก. ตั้งท้อง เช่น มานลูก ข้าวมาน.
  29. มานะ ๒ : น. ความพยายาม, ความตั้งใจจริง, ความพากเพียร, เช่น มีมานะอดทน มีมานะในการทำงาน; ความถือตัว. (ป.).
  30. มานัต : น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุ ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. (ป. มานตฺต).
  31. มาภา : (แบบ) น. แสงจันทร์ เช่น มาพ่างมาภาเป็น ปิ่นแก้ว. (ยวนพ่าย). (ป. มา ว่า พระจันทร์ + อาภา ว่า แสงสว่าง).
  32. ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
  33. มารค : [มาก] น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  34. มารยา : [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
  35. มารยาสาไถย : น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.
  36. มารุมมาตุ้ม : ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้ม ทวงหนี้กันใหญ่.
  37. มาลัยชำร่วย : น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
  38. มาลา : น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).
  39. ม้าลาย : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ ทั่ว ๆ ไป.
  40. มิ ๑ : ว. ไม่ เช่น มิทราบ มิควร มิบังอาจ.
  41. มิ ๒ : ก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
  42. มิ่ง : น. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.
  43. มิจฉาชีพ : น. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่น เขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพ ผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).
  44. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  45. มิดชิด : ว. ลับตา, ไม่ให้ใครเห็น, เช่น ซ่อนให้มิดชิด, สนิทแนบเนียน เช่น ปิดประตูให้มิดชิด, เรียบร้อย เช่น ห่อให้มิดชิด.
  46. มิดน้ำ : ว. อาการที่น้ำท่วมหัวเรือจนมิด เช่น หัวเรือมิดน้ำ.
  47. มิดหัว : ว. อาการที่หัวจมหายลงไปในน้ำ เช่น ดำน้ำจนมิดหัว.
  48. มิตรจิต : น. ความมีนํ้าใจเอื้อเฟื้อเสมือนเพื่อนรัก, ความรักใคร่ ประนีประนอมฐานเพื่อนรัก, เช่น มีมิตรจิตต่อกัน.
  49. มิตรจิตมิตรใจ : (สํา) น. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เช่น ต่างก็มีมิตรจิต มิตรใจต่อกัน.
  50. มิตรภาพ : น. ความเป็นเพื่อน เช่น มิตรภาพระหว่างเขาทั้งสอง. (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | [5201-5250] | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2173 sec)